วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

กล้วยน้ำว้าดองน้ำผึ้ง ตำรับยาอยุวัฒนะ

เราๆๆท่านๆๆคงทราบกันดีแล้วว่า กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้คู่บ้านของคนไทยมาแต่โบราณ ในสมัยโบราณ เด็กไทยส่วนใหญ่เติบโตมาจากการกินกล้วยน้ำว้าโดยพ่อแม่จะบดผลกล้วยน้ำว้าสุก ป้อนให้ลูกเล็ก กินแทนข้าว กล้วยน้ำว้า หนึ่งผล สามารถให้พลังงานได้ ประมาณ ๑๐๐ แคลอรี่ มีน้ำตาลธรรมชาติ อยู่ ๓ ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทสและกลูโครส มีเส้นใยและกากอาหาร ในกล้วยน้ำว้า ยังอุดมไปด้วย วิตามินบี6 ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน วิตามินบี1 บี2 และไนอะซีน อีกทั้งมีเกลือแร่แมกนีเซียมและโพแทสเซียม นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้ายังมีคุณค่าสารอาหารที่พิเศษกว่ากล้วยชนิดอื่น นั่นคือ ในกล้วยน้ำว้าหนึ่งผล มีโปรตีน มีกรดอะมิโน อาร์จินินและอิสติดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าเป็นภูมิปัญญาเก่าแก่จากปู่ย่าตายาย ที่พ่อ แม่ ท่านให้เรากินกล้วยน้ำว้าบด ก็เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายนี่เอง อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยโดยแท้ นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้า ยังมีสรรพคุณในทางยาอีกด้วย เช่น ช่วยระงับกลิ่นปาก , เป็นยาระบาย ช่วยแก้ท้องผูก หรือระบบขับถ่ายไม่ปกติที่สาวๆๆรุ่นใหม่ประสบกันเยอะมากในปัจจุบัน จนต้องพึ่งพายาระบายที่เป็นสารเคมีและมีราคาแพงแถมมีผลข้างเคียงอีกต่างหาก ,ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรืออาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้งๆ , สามารถรักษาโรคกระเพาะหรือว่าอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้ดีด้วยครับ โดยการนำกล้วยน้ำว้าดิบมาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด ๒ วัน ให้แห้งดีกลับด้านด้วยบ้างจนแห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ละลายกับน้ำผึ้งปั้นเป็นก้อนกลมๆๆ ทานก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมง หรือก่อนนอน ครั้งละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ , เปลือกกล้วยน้ำว้าสุกด้านในนั้นช่วยบรรเทาอาการคันอันเนี่องมาจาก แมลงกัด ต่อย และผื่นแดงจากอาการคัน ทั้งมีฤทธิ์ระงัยการเกิดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียต่างๆๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบได้เป็นหนองได้เป็นอย่างดีและที่สำคัญมากๆๆทราบกันไหมครับว่า กล้วยน้ำว้า ยังมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะที่ดีอีกด้วยครับ วันนี้ก็เลยเอา ตำรับยาอยุวัฒนะกล้วยดองน้ำผึ้งมาฝากกันครับ

ขั้นตอนและวิธีการทำ
สิ่งทีต้องมีน้อยนิดเดียวครับ ก็คือกล้วยน้ำว้าสุกงอมแต่ว่าไม่ถึงกับดำขึ้นรากันเลยนะครับ โดยเอากล้วยน้ำว้ามาล้างน้ำทั้งหวีให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าครับ เป็นการขจัดฝุ่นผงออกไปก่อนครับ แล้วนำ มาปอกเปลือกออกแล้วหั่นเป็นชิ้นบางๆ นะครับ ผมหนึ่งหั่นให้ได้แปดชิ้นต่อผลครับ โดยในสูตรนนี้ปริมาณ 12-15 ผล ต่อน้ำผึ้ง 1 ขวดหรือว่าประมาณ 750 ซีซี ส่วนน้ำผึ้งนั้นก็เลือกหากันตามสะดวกนะครับ มีจำหนายหลากหลาย ตามซูเปอร์มาร์เก็ต ตัวผมใช้น้ำผึ้งของโครงการหลวงหรือว่าดอยคำครับ เพราะว่าค่อนข้างมั่นใจและราคาพาสมควรไม่แพงนักครับ ต่อมาก็มีขวดโหลแก้วครับ ชนิดมีฝาปิด วันนี้พอดีได้เจอโหลแบบหนึ่งจากห้าง เป็นโหลแก้ว มีซีสยางด้านในด้วย แต่มีรูระบายอากาศใต้ฝาด้วยครับ เลยน่าจะเหมาะสำหรับการนี้คือ ก๊าซระบายได้โดยไม่ต้องเปิดฝา ให้ปนเปื้อนกันเลยครับ ที่นี้เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
เริ่มด้วยการหั่นกล้วยเป็นแปดชิ้นต่อผล แล้วนำไปใส่ในขวดจนครบจำนวนครับ แล้วเติมน้ำผึ้งให้หมดเลยครับ ทั้งหนึ่งขวด แล้วตอนเทพยามให้ทั่วๆๆ โดนกล้วยทุกชิ้นทั่วกันนะครับ ต้องกะว่าส่วนผสมที่เติมทั้งหมดนั้นต้องไม่เต็มโหลที่ทำนะครับ อย่าใส่ให้เต็มโหล ต้องเว้นที่ด้านบนไว้อย่างน้อยสามหรือว่าสีนิ้วครับ ไม่งั้นอาจจะมีการล้นออกมานอกโหลกันได้ครับ และไม่สะดวกในการแกว่งขวดให้กล้วยกับน้ำผึ้งผสมกันด้วยครับแล้วทิ้งไว้อย่างนี้หนึ่งคืนก่อนครับ แต่ก่อนหน้าน้ำผึ้งต้องท่วมหมดนะครับ แต่ซํกพักเค้าจะลอยขึ้นมาด้วยส่วนหนึ่งครับ ไม่ต้องตกใจครับ ปรกติครับ พอตอนเช้ามาก็ให้เราแกว่งขวดให้น้ำผึ้งและกล้วยเคล้ากันดีครับ จะเริ่มเห็นว่าน้ำผึ้งเริ่มเหลวและแยกชั้นกันนิดหน่อยแล้วครับ เพราะว่าน้ำผึ้งจะดึงของเหลวในกล้วยออกมาบ้างแล้วครับ ช่วงสองสามอาทิตย์แรกควรทำการแกว่งทุกวันครับ เพื่อป้องกันราเข้ายึดกล้วยที่ลอยด้านบนครับ ผ่านไปสองอาทิตย์ กล้วยก็จะจมหมด บางท่านทำอาจจะจมเร็วกว่านี้ได้ครับ เนืองจาก น้ำผึ้งครับ จะเป็นน้ำผึ้งเก่าที่มีความชื้นต่ำครับ การทำยาอยุวัฒนะนี้ต้องใช้เวลาการทำและเก็บไว้สามเดือนครับ จึงจะครบขั้นตอนแล้วสามารถใช้ได้ครับ
 ขอสงวน ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

การนำมาใช้ดื่ม
เมื่อครบ 3 เดือนแล้ว จึงนำมาดื่ม โดยไม่ต้องคั้นน้ำครับ น้ำผึ้งจะใส มีรสเปรี้ยวนิดๆครับ โดยให้กินก่อนนอน คืนละ ครึ่งถึงหนึ่งแก้วเป๊ก นะครับ กินทุกคืนก่อนนอน โดยให้เริ่มที่ครึ่งแก้วก่อนครับ แล้วค่อยเพิ่ม หากว่า รับประทานมากเกินไปร่างกายจะร้อน จึ่งต้องค่อยๆๆปรับร่างกายกันก่อนครับ ด้วยปริมาณครึ่งแก้วเป๊ก เมื่อกินไปได้ 10 - 15 วัน จะรู้สึกว่าร่างกายอบอุ่นและสดชื่นแข็งแรงขึ้น ทำงานได้ไม่ค่อยเพลียง่ายเช่นแต่ก่อน กระชุ่มกระชวยสดใสขึ้นครับ
ตำรับ ยาอายุวัฒนะของไทยเรานี้ เน้นบำรุงสุขภาพร่างการปรับธาตุ และสมดุลย์ต่างๆๆในร่างกายให้ดีขึ้นครับ หลายท่านทำไว้ใช้แล้ว ดีต่อสุขภาพมาก รวมถึงท่านชายทั้งหลายที่ไม่ค่อยจะสมชายชาตรี อ่อนล้าอ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไร้กำลัง เมื่อได้นำมาดื่มเป็นเวลาครบ หกเดือนขึ้นไปแล้ว คุณจะเห็นผลเองครับ แต่ต้องบอกกันไว้ด้วยนะครับ เมือแข็งแรงดีแล้วต้องไม่ไปเกเรนอกบ้านกันนะครับ ที่นำมาเสนอนี้เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง รักใคร่กลมเกลียวกันดีในครอบครัวเป็นหลักนะครับ

ขอบคุณ คุณบรรยงด้วยนะครับสำหรับขวดโหลและน้ำผึ้งนะครับ เป็นการบังคับให้ทำให้กันด้วยแบบ กลายๆๆ 55
ขอบคุณ คุณบรรยงด้วยนะครับสำหรับขวดโหลและน้ำผึ้งนะครับ เป็นการบังคับให้ทำให้กันด้วยแบบ กลายๆๆ 55
ขอบคุณ คุณบรรยงด้วยนะครับสำหรับขวดโหลและน้ำผึ้งนะครับ เป็นการบังคับให้ทำให้กันด้วยแบบ กลายๆๆ 55
เครดิต https://www.facebook.com/notes/10201104553722412/

เรื่องเล่า ตำนานเทพ

ชาวไทยเราส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนคือนับถือพระพุทธเจ้า แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่บูชาเทพเจ้า-มหาเทพองค์อื่นๆควบคู่กันไป กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็ไม่มีข้อห้ามใดๆ เนื่องจากศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ต่างก็มีความเกี่ยวข้องกันทั้งในด้านประวัติศาสตร์ คำสอน และประเพณีวัฒนธรรม โดยเฉพาะกับวิถีชีวิตของคนไทย
เช่น การนับถือพระพุทธเจ้าพร้อมกับ เทพเจ้าของจีน
(เจ้าแม่กวนอิม พระสังกัจจาย ฮก-ลก-ซิ่ว แปดเซียน จี้กง เทพเจ้าไฉ่สิ่งเอี๊ย ฯลฯ)
หรือเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีความสนใจบูชามหาเทพของ พราหมณ์-ฮินดู เพิ่มเติม เช่น พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่สรัสวดี พระแม่ลักษมี ฯลฯ
คำถาม – สามารถตั้งพระพิฆเนศหิ้งเดียวกับพระพุทธเจ้าได้หรือไม่?
คำตอบ – ไม่ได้..เพราะไม่เหมาะสม…
ถ้าท่านมีความศรัทธาและต้องการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์จำนวนหลายๆ องค์พร้อมๆ กัน ก็ไม่ควรจะตั้งบนชั้น หิ้ง หรือโต๊ะหมู่บูชาชุดเดียวกัน ควรจะแยกออกเป็นชุดๆ อาจจะจัดเรียงโต๊ะหรือหิ้งให้เรียงกันจากซ้ายไปขวา หรือมีฉากกั้น จะเป็นการเหมาะสมกว่า
การแยกโต๊ะสำหรับบูชาพระ ควรแบ่งตามนิกาย-ลัทธิ ให้ชัดเจน ดังต่อไปนี้
หิ้งศาสนาพุทธ – ประดิษฐานพระพุทธรูป (ศาสนาพุทธ) เช่น พระพุทธเจ้า และพระอัครสาวก (พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอานนท์)
พระบรมสารีริกธาตุ พระสีวลี พระธาตุของพระพุทธสาวก พุทธเจดีย์จำลอง ตลอดจนท้าวจตุคามรามเทพ และพระเกจิอาจารย์ ฯลฯ
หิ้งเทพเจ้าจีน – ประดิษฐานเทพเจ้าของจีนหรือญี่ปุ่น เช่น พระสังขจาย เจ้าแม่กวนอิม ฮก-ลก-ซิ่ว แปดเซียน จี้กง ไฉ่ซิงเอี้ย เจ้าพ่อกวนอู
เห้งเจีย รูปเทพธิดา นางฟ้าจีน มังกร เต่า หงษ์ แมวนำโชค วัตถุมงคลแก้ฮวงจุ้ย ฮู้ ยันต์จีนต่างๆ ฯลฯ
หิ้งศาสนาฮินดู – ประดิษฐานมหาเทพ-มหาเทวีของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระแม่ทั้ง 3
พระราม พระหนุมาน พระกฤษณะ ฯลฯ
หิ้งกษัตริย์ไทย – พระบรมฉายาลักษณ์กษัตริย์ของไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพ่อ ร.5 เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ่อขุนรามคำแหง พระนางสุพรรณกัลยา ฯลฯ
(โต๊ะนี้สำหรับชาวไทย ส่วนใหญ่จะอนุโลมให้ตั้งอยู่รวมกับโต๊ะหมู่บูชาของพระพุทธเจ้าได้ โดยตั้งให้มีระดับชั้นต่ำกว่าพระพุทธเจ้า)
หิ้งวัตถุมงคล – วัตถุมงคลอื่นๆ เช่น ผ้ายันต์ ตะกรุด นางกวัก กุมารทอง รักยม เหล็กไหล ชูชก เงาะป่า ปลัดขิก มีดหมอ เขี้ยวเสือ ควายธนู ฯลฯ
(ชุดนี้ควรตั้งให้เหลื่อมต่ำลงกว่าทั้ง 4 หิ้งที่กล่าวมา)
ความรู้เรื่องการสวดมนต์
การสวดบูชาเทพเจ้านั้น เราสามารถสวดด้วยบทใดก็ย่อมได้ตามที่ได้ลงไว้ให้ศึกษาในส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์นี้
ไม่ว่าจะเป็นบทสวดสั้นๆ เพียงบรรทัดเดียว (เช่น นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะพะกะสะ, โอม ศรี คเณศายะนะมะฮา, โอม เจ มา ตา กี , โอม มณี ปัทเมฮุมหริ, นาโคนามะ ฯลฯ)
หรือจะเป็นบทสวดยาวๆ (ที่เริ่มต้นด้วย โองการพินทุ นาถังอุปปันนัง….หรือ โอมปารวตีปัตเย…) ก็สามารถทำให้องค์เทพท่านพึงพอใจได้เช่นเดียวกัน
การบทสวดสั้นๆเพียงท่อนเดียว ก็เพื่อการสะดวกเมื่อต้องเร่งรีบหรือเดินทางไปไหนมาไหน แล้วเดินผ่านเทวาลัยหรือศาลเทพเจ้า
เพียงยกมือไหว้แสดงความเคารพ แล้วกล่าวบทสวดเพียงท่อนเดียวก็เสร็จพิธี (หรือจะสวด 3 จบ 5 จบ 9 จบก็ตามสะดวก)
สำหรับการสวดบทยาวๆ ก็เพื่อให้เกิดสมาธิในการตั้งจิต หรือใช้สวดเนื่องในโอกาสพิเศษหรือขอพร แต่ผู้ศรัทธาหลายท่านก็ใช้บทสวดแบบสั้นที่มีท่อนเดียว แต่สวดท่องซ้ำๆกัน เป็นร้อยเที่ยว พันเที่ยว เพื่อการนั่งสมาธิให้เข้าถึงญาณและบารมีแห่งองค์ท่าน
ไม่สำคัญว่าจะสวดบทไหน หรือสวดกี่เที่ยว เพราะบทสวดทุกบทนั้น ต่างก็มีความหมายที่ดี ล้วนแปลความได้ว่าเป็นการยกย่องต่อเทพเจ้า และเป็นการสื่อให้พระองค์ได้รับรู้ถึงความศรัทธาของเราที่มีต่อองค์ท่าน
ผลดีจะเกิดกับผู้สวดก็ต่อเมื่อปฏิบัติการสวดบูชาเป็นประจำ และสวดให้ได้ทุกวัน
…ก่อนตัดสินใจกระทำการสิ่งใด ก็ให้สวดมนต์ต่อองค์ท่านก่อน เพื่อขอเปิดทางไปสู่ความสำเร็จ
…หากพบทางตันแม้ได้ทดลองทุกวิถีทางแล้ว ก็ให้สวดบูชาต่อองค์ท่าน เพื่อขอประทานสติปัญญาและทางออก
…เมื่อเกิดความเครียด กระวนกระวาย สับสนในจิตใจ ก็สวดบูชาต่อองค์ท่านเพื่อขอประทานสมาธิ
…ก่อนออกเดินทางไกล ก่อนไปเจรจาต่อรอง ก่อนกระทำการใดๆ อันเป็นการเสี่ยง ฯลฯ
ก็สวดบูชาต่อองค์ท่าน เพื่อขอให้บารมีองค์เทพได้คุ้มครองให้ปลอดภัยและประสบแต่โชคดี
การสวดมนต์นั้น ไม่ว่าจะสวดบูชาต่อพระพุทธรูปในศาสนาพุทธ หรือสวดบูชาต่อเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูก็ตาม
ไม่สำคัญว่าเราจะรู้ความหมายหรือไม่ เนื่องด้วยการสวดมนต์แม้เราไม่ทราบความหมาย ก็ยังก่อให้เกิดสมาธิและความศรัทธา และหากสวดอย่างทราบความหมาย ก็ก่อให้เกิดปัญญา สื่อถึงองค์เทพเจ้าได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น…
ฉะนั้น อานิงสงค์จากการสวดบูชาภาษาบาลี-สันสกฤตและภาษาโบราณต่างๆ นั้นมีอยู่จริง!!
ขอเพียงตั้งใจสวด ไม่วอกแวก สวดด้วยใจบริสุทธิ์ สวดให้เกิดสมาธิ ก็ย่อมเกิดผลดีแก่ทุกคน ซึ่งใครบางคนเคยบอกผมว่าสวดเป็นนกแก้วนกขุนทองไม่รู้ความหมายแล้วจะได้อะไร..ณ ตอนนั้นผมคงหาคำตอบให้ไม่ได้ แต่ตอนนี้ผมอยากบอกท่านผู้นั้นว่า”พูดโดยที่ไม่รู้จริงเกี่ยวกับศาสนาและมาทำโอ้อวดว่ารู้ดีระวังนรกจะกินหัวนะครับ”
เครื่องหมายโอม สัญลักษณ์แห่งศาสนาพราหมณ์
lotusohm
ในบทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “โอม…”
และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย “โอม” อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งคำว่า โอม นี้เป็นหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!!
โอม…เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
คำว่า โอม มีลักษณะดังที่เห็นในรูป สังเกตุได้จากลักษณะเด่น คือ
– มีเครื่องหมายคล้ายเลข 3 นำหน้า
– มีเครื่องหมายคล้าย ง. งู ต่อท้าย
– มีถ้วยและหยดน้ำ (เครื่องหมายจุดพินทุ) อยู่ด้านบน
อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้
อะ – มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ)
อุ – มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ)
มะ – มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ)
อะ อุ มะ….เมื่ออ่านออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน จึงเกิดเป็นคำว่า “โอม” หมายถึงการเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ในหนังสือบางเล่ม จะสลับความหมายไปมา บ้างก็ว่า อะ คือพระวิษณุ บ้างก็ว่า มะ คือพระศิวะ สลับไป สลับมา แต่ละเล่มก็เลยเขียนไม่เหมือนกันเลย ขอผู้อ่านได้โปรดจำให้ขึ้นใจ จะได้ไม่สับสนนะครับ
คำว่า โอม ยังสามารถแยกออกเป็นคำๆ ซึ่งมีที่มาโดยการเปล่งเสียงแต่ละคำของมหาเทพได้อีกดังนี้
1. ตัว อะ – ออกจากพระพักต์ทางทิศเหนือของมหาเทพ
2. ตัว อุ – ออกจากพระพักต์ทางทิศตะวันตกของมหาเทพ
3. ตัว มะ – ออกจากพระพักต์ทางทิศใต้ของมหาเทพ
4. ตัว . (พินทุ) – ออกจากพระพักต์ทางทิศตะวันออกของมหาเทพ
5. เสียง นาท (เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินและเข้าใจได้) – ออกจากกลางพระพักต์ของมหาเทพ
เมื่อท่านผู้ศรัทธาเดินผ่านเทวาลัยพระพิฆเนศวร หรือมหาเทพองค์ใดๆ ควรพนมมือขึ้นเพื่อทำความเคารพ และให้เอ่ยคำว่า “โอม…” สั้นๆเพียงคำเดียวในกรณีที่จำบทสวดเทพองค์นั้นๆไม่ได้ และไม่ใช่เอ่ยคำว่า “สาธุ” นะครับ ต้องเป็นคำว่า “โอม” เท่านั้น จะสวดมนต์ จะขอพร จะกราบ หรือกระทำสิ่งใดก็ตามแต่ ให้เอ่ยคำว่า “โอม” เสมอ
ฉะนั้นนับแต่นี้ไป หากท่านได้พบเห็นเทวรูปพระพิฆเนศ หรือเทพองค์อื่นของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ให้เอ่ยคำว่า “โอม” แทนคำว่า “สาธุ” ก็จะถูกต้องตามหลักปฏิบัติมากกว่าครับ
ท่านผู้ศรัทธาควรหมั่นสวดบูชาเครื่องหมายโอมนี้ด้วยเสมอ
หลังจากที่สวดบูชาเทพทุกองค์เสร็จแล้ว มีคำสวดดังนี้
โอม การัม พินทุสัมยุกตัม
นิตยัม ธยายันติ โยคินา
กามะทัม โมกะสะทัม ไจวะ
โอม การายะ นะโม นะมะ ฯ
ความหมายของบทสวด :
เครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ปรากฏคู่กับเครื่องหมาย พินทุ เสมอ
อันจะเป็นเครื่องหมายที่นำความปรารถนา สุขสมหวังมาให้
สามารถขจัดอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้น และชี้นำเหล่าโยคีไปสู่ปรีชาญาณ
ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะเครื่องหมายโอมอันศักดิ์สิทธิ์นี้….
พระศรีมหาคเณศ มหาเทพแห่งปัญญาและผู้อยู่เหนืออุปสรรคต่างๆ
พระศรีมหาคเณศ ภาพโดย ราชัน แสงทอง
พระศรีมหาคเณศ ภาพโดย ราชัน แสงทอง
“ก่อนทำการพิธีใดๆของทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและประกอบกิจกรรมอันเป็นมงคลทั้งหมดถ้าขาดการบูชาพระศรีมหาคเณศก่อนจะไม่ประสบผลสำเร็จ” เป็นพรที่ท่านได้มาจากมหาเทพทั้งสามคือ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม เมื่อครั้งพระคเณศถูกตัดพระเศียรขาดโดยการนำเศียรของช้างที่พระแม่ปราวตีเลี้ยงไว้เสมือนบุตรมาสวมให้พระองค์แทนโดยการชุบชีวิตจากมหาเทพ โดยเทพและเทวีต่างๆพากันสรรเสริญและให้พรแก่พระองค์หลากหลายประการ
พระคเณศเป็นเทวกำเนิดจากพระศิวะและพระแม่ปราวตี(พระแม่อุมา) พระองค์มีพระนามมากมายบางครั้งเรียกว่า “พระวินายัก”(Vinayaka)เทพเจ้าแห่งเทพสูงสุด บ้างก็เรียกว่า “พระคณปติเทพ” (Ganapatidev) คือผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งบริวารของพระศิวะเทพ หรือเทพเจ้าแห่งความรอบรู้ทุกสรรพสิ่งในโลก บ้างก็เรียก “พระวิฆเณศ” (Vigh Neshvara) อันเป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวงแก่ผู้ที่บูชา
มีหลากหลายตำนานเกี่ยวกับการเสียงาของท่านแต่ที่ผมรู้สึกชื่นชอบเป็นพิเศษคือการถูก”ปรศุราม”(อวตารของพระวิษณุเทพปางที่6)ขว้างขวานไปโดนงาหักเพราะโมโหที่พระคเณศไม่ยอมให้เข้าเฝ้าพระศิวะกับพระแม่ปราวตีเนื่องด้วยเกรงว่าจะเป็นการรบกวนพระบิดาและพระมารดา.. อันที่จริงแล้วพระคเณศสามารถที่จะต่อสู้กับปรศุรามได้แต่เหตุด้วยขวานที่ขว้างมานั้นเป็นของพระศิวะผู้เป็นบิดาได้มอบให้ปรศุรามไปเผื่อปราบเหล่ากษัตริย์ทมิฬ ด้วยความกตัญญูของท่านจึงยอมที่จะรับคมขวานนั้นด้วยความเคารพต่ออาวุธของผู้เป็นบิดาเพราะท่านคิดว่าจะมีประโยชน์อันใดต่อการทำลายฤทธิ์เดชของอาวุธซึ่งเป็นของบิดาตนเอง ซึ่งอันที่จริงแล้วเป็นการให้เกียรติที่ประเสริฐสุดของท่านต่อพระบิดานั่นเองและงาที่หักนั้นก็ได้รับพรจากพระศิวะให้เป็นอาวุธที่มีฤทธิ์เหนือทั้งสามโลกโดยที่จะไม่มีอาวุธใดมาต่อสู้กับงาของพระคเณศได้
การบูชา
ทุกๆวันขึ้นหรือแรม4ค่ำของทุกเดือนควรจัดเครื่องถวายต่างๆ ส่วนวันประสูติหรือคเณศจตุรถีจะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 10 ในประเทศอินเดียจะมีการทำพิธีบูชาก่อนหน้านั้น21วัน เทวรูปที่บูชาต้องรองด้วยผ้าสีแดงหรือเหลือง ถวายดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกจำปีจำปา กำยานกลิ่นไม้จันทร์ กลิ่นโมก กลิ่นมะลิ กลิ่นดอกบัว กลิ่นไม้กฤษณา ผลไม้เช่นกล้วย อ้อย มะม่วง ใบกระเพาแดง ทับทิม ขนมโมทกะ ธัญพืชต่างๆ ควรจัดถวายหนูหลายๆแบบเมื่อต้องการให้หน้าที่การงานประสบผลสำเร็จเพราะหนูเป็นบริวารของพระคเณศ(การบูชาเทพไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นเรื่องยุ่งยาก แค่ท่านทำด้วยใจที่เคารพอย่างแท้จริงต่อพระองค์ท่านผมก็เชื่อว่าเทพเทวดาท่านคงรับรู้ถึงจิตอันบริสุทธิ์ของผู้ที่บูชาได้ครับ:)
พระศรีมหาคเณศ ปางเอกอักษราคณปติ โดย ราชัน แสงทอง
พระศรีมหาคเณศ ปางเอกอักษราคณปติ โดย ราชัน แสงทอง
บทสวด “อัญเชิญพระพิฆเนศ”
วักกระตุณดะ มหากายา
สุริยาโกติ สมาปราภา
นิรวิกนัม คุรุเมเดวา
สารวการ เยสุ สารวาดา
คาถาบูชา
“โอม ศรี คเณศายะ นะมะ ฮา” หรือ “โอม กัง กะ นะ ปัต ตะ เย นะ มะ ฮา” 3 จบ
มหามนต์พระศรีมหาคเณศ ๓๒ ปาง
โอม ศรี บารา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ทารุนา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี บากติ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี วีระ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ศักติ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ทวิจา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี สิทธิ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี อุณ ฉิ ตา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี วิทนา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี คริสปา คะณะปะติ ยะนะมะมะฮา
โอม ศรี เอก ชา รา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี วารา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี เฮรัมภะ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี มหา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี วิชจายา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ลักษมี คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี นริส ตะยา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี อุสะวา คะณะปะติ ยะนะฮา
โอม ศรี ทะยัก ชารา คะณะปะติยะนะมะฮา
โอม ศรี คริป ปา ปราดาสะดา คะณะปะติยะนะมะฮา
โอม ศรี ฮิริดา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี เอก ทันตะ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ชวิตทริ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี อุตทันดา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี รูนา โม ชานา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ดรัน ทริ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ทวิมุขติ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ตรี มุขติ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ตรี มุข ติ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี สิงหะ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี โยคะ คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี ทรุดา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
โอม ศรี สันกา ทะ หารา คะณะปะติ ยะนะมะฮา
พระศรีมหาคเณศเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ มหามนต์นี้ถือเป็นมหาราชแห่งทรัพย์และความสำเร็จในทุกๆด้าน ทั้งในเรื่องครอบครัว การงาน การเงิน ความรัก และป้องกันอันตรายรวมทั้งคุณไสย ผู้ใดสวดเป็นประจำทุกเช้า-ค่ำจะประสบผลสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวัง
การสวดบูชาด้วย 108 พระนามแห่งพระพิฆเนศ
มหาเทพ-มหาเทวีเกือบทุกพระองค์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จะมีการตั้งพระนามเพื่อเป็นเกียรติยกย่อง บางพระองค์อาจมี 108 พระนาม บางองค์อาจมีมากถึง 1,008 พระนาม ซึ่งแต่ละพระนามก็จะสื่อความหมายถึงคุณสมบัติ ความดี หรือความพิเศษขององค์เทพนั้นๆ
พระพิฆเนศ ก็มีพระนามที่ศาสนิกชนเรียกขานและยกย่องเพื่อเป็นเกียรติอยู่ถึง 108 พระนาม แต่ละพระนามล้วนมีความหมายที่ดี แสดงถึงอานุภาพและความยิ่งใหญ่ขององค์พระพิฆเณศวร
พระนามทั้ง 108 นั้นจะมีบทสวดมนต์กำกับอยู่ ท่านผู้ศรัทธาสามารถสวดบูชา โดยเรียงตั้งแต่พระนามแรก ไปจนพระนามสุดท้าย เพื่อยกย่องพระพิฆเนศ ตามโอกาสจะอำนวย เพื่อเป็นการสรรเสริญ ขอพร และขอความเมตตาจากองค์ท่าน
1. วินายักายะ – มหาเทพผู้ปกป้องสวรรค์
บทสวด : โอม วินายัก กายะ นะมะห์
2. วิฆะณะราชายะ – มหาเทพผู้ขจัดอุปสรรคทั้งหลาย
บทสวด : โอม วิฆะณะราชายะ นะมะห์
3. โคริปุ ปุตรายะ – มหาเทพโอรสแห่งพระแม่อุมา–โครี
บทสวด : โอม โคริปุ ปุตรายะ นะมะห์
4. คเณศวรายะ – มหาเทพแห่งคณะบริวาร
บทสวด : โอม คเณศวรายะ นะมะห์
5. สกันทานุชายะ – มหาเทพผู้เป็นเชษฐาแห่งพระขันทกุมาร
บทสวด : โอม สกันทานุชายะ นะมะห์
6. อวัยะยานะ – มหาเทพผู้ไร้รูปร่าง
บทสวด : โอม อวัยะยานะ นะมะห์
7. พูตายะ – มหาเทพผู้มีความรู้สึกอันบริสุทธิ์
บทสวด : โอม พูตายะ นะมะห์
8. ทักศาธยักศายะ – มหาเทพแห่งพระปชาบดีและเหล่าบรรพบุรุษ
บทสวด : โอม ทักศาธยักศายะ นะมะห์
9. ทวิชปริยายะ – มหาเทพผู้ถือกำเนิดสองครั้ง
บทสวด : โอม ทวิชปริยายะ นะมะห์
10. อัคนิ คะระ วัจหิเท –
มหาเทพผู้ทำลายความยะโสแห่งพระอัคนีเทพ
บทสวด : โอม อัคนิ คะระ วัจหิเท นะมะห์
11. อินทระ ศรีประทายะ –
มหาเทพผู้ปกป้องทรัพย์สมบัติแห่งพระอินทร์
บทสวด : โอม อินทระ ศรีประทายะ นะมะห์
12. นิพละปรทายะ – มหาเทพผู้ประทานพรที่ดีเลิศ
บทสวด : โอม นิพละปรทายะ นะมะห์
13. สวสิทธิปะรายักกะกายะ –
มหาเทพผู้ประทานอำนาจสูงสุดทั้งปวง
บทสวด : โอม สวสิทธิปะรายักกะกายะ นะมะห์
14. ศรวัฒนยายะ – มหาเทพโอรสแห่งพระศิวะเทพ
บทสวด : โอม ศรวัฒนยายะ นะมะห์
15. ศรวริปริยายะ – มหาเทพโอรสแห่งพระแม่อุมา
บทสวด : โอม ศรวริปริยายะ นะมะห์
16. สรวัฒะมักกายะ – มหาเทพผู้ได้รับการเคารพบูชาอย่างยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม สรวัฒะมักกายะ นะมะห์
17. ศรีษติกะธเตระ – มหาเทพผู้สร้างจักรวาล
บทสวด : โอม ศรีษติกะธเตระ นะมะห์
18. เววานิการะ จิตายะ –
มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้จากเหล่าเทวะ
บทสวด : โอม เววานิการะ จิตายะ นะมะห์
19. ศิวายะ – มหาเทพผู้เปรียบเสมือนองศ์พระศิวะเทพ
บทสวด : โอม ศิวายะ นะมะห์
20. ศุธิปริยายะ – มหาเทพผู้ประทานซึ่งสติปัญญา
บทสวด : โอม ศุธิปริยายะ นะมะห์
21. ศานตายะ – มหาเทพผู้ประทานซึ่งความสงบสุข
บทสวด : โอม ศานตายะ นะมะห์
22. พรหม มะ จาริเน – มหาเทพผู้ถือเพศพรต
บทสวด : โอม พรหม มะ จาริเน นะมะห์
23. คชานายะ – มหาเทพผู้มีเศียรเป็นช้าง
บทสวด : โอม คชานายะ นะมะห์
24. ทไวมาตุรายะ – มหาเทพผู้มีมารดา 2 พระองค์
บทสวด : โอม ทไวมาตุรายะ นะมะห์
25. มุนิสตุ คยายะ – มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้จากเหล่าฤษี
บทสวด : โอม มุนิสตุ คยายะ นะมะห์
26. ภัคตวิฆนะ วินาศิเน –
มหาเทพผู้ทำลายความทุกข์ร้อนของสาวก
บทสวด : โอม ภัคตวิฆนะ วินาศิเน นะมะห์
27. เอกทันตยะ – มหาเทพผู้มีงาข้างเดียว
บทสวด : โอม เอกทันตะยะ นะมะห์
28. จตุรพาหเว – มหาเทพผู้มี 4 กร
บทสวด : โอม จตุรพาหเว นะมะห์
29. ศักดิสัมยุตายะ – มหาเทพผู้เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ
บทสวด : โอม ศักดิสัมยุตายะ นะมะห์
30. จตุรายะ – มหาเทพผู้เป็นยอดปัญญา
บทสวด : โอม จตุรายะ นะมะห์
31. ลัมโพทรายะ – มหาเทพผู้มีพุงใหญ่โตดั่งจักรวาล
บทสวด : โอม ลัมโพทรายะนะมะห์
32. ศรุปกรนายะ – มหาเทพผู้มีใบหูอันใหญ่โต
บทสวด : โอม ศรุปกรนายะ นะมะห์
33. เหรัมภายะ – มหาเทพพระองค์แรกแห่งการกราบไหว้บูชา
บทสวด : โอม เหรัมภายะ นะมะห์
34. พรหม มะ วิตตะมายะ – มหาเทพผู้เป็นพราหมณ์สูงสุด
บทสวด : โอม พรหม มะ วิตตะมายะ นะมะห์
35. ลีลายะ – มหาเทพผู้มีลีลาอันวิจิตร
บทสวด : โอม ลีลายะ นะมะห์
36. พหปัตเย – มหาเทพแห่งดวงดาวทั้งหลาย
บทสวด : โอม พหปัตเย นะมะห์
37. กามิเน – มหาเทพแห่งความรัก
บทสวด : โอม กามิเน นะมะห์
38. โสมะสุรยาคนิ –
มหาเทพผู้มีตรีเนตรเป็นพระอาทิตย์ พระจันทร์และพระเพลิง
บทสวด : โอม โสมะสุรยาคนิ นะมะห์
39. ปาศานะกุศัทรายะ –
มหาเทพผู้ทรงบ่วงบาศก์และขอช้างเป็นอาวุธ
บทสวด : โอม ปาศานะกุศัทรายะ นะมะห์
40. คุนาติตายะ –
มหาเทพผู้อยู่เหนือคุณลักษณะของธรรมชาติทั้ง 3 ประการ
บทสวด : โอม คุนาติตายะ นะมะห์
41. สิทธิวินายัก – มหาเทพผู้ทรงปกป้องโลกและสวรรค์
บทสวด : โอม สิทธิวินายัก นะมะห์
42. นิรันชนายะ – มหาเทพผู้ไร้ซึ่งรูปลักษณะ
บทสวด : โอม นิรันชนายะ นะมะห์
43. อักลัมศายะ – มหาเทพผู้เป็นอิสระจากมลทินทั้งปวง
บทสวด : โอม อักลัมศายะ นะมะห์
44. สวยัมสิทธาระจิตปทายะ – มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้จากคนที่ดีเลิศ
บทสวด : โอม สวยัม สิทธาระ จิตปทายะ นะมะห์
45. พิชปุรกายะ – มหาเทพผู้เป็นรากฐานแห่งจักรวาล
บทสวด : โอม พิชปุรกายะ นะมะห์
46. อายักตายะ – มหาเทพผู้สันโดษ
บทสวด : โอม อายักตายะ นะมะห์
47. วรทายะ – มหาเทพผู้ประทานพรอันยิ่งใหญ่ทั้งปวง
บทสวด : โอม วรทายะ นะมะห์
48. วิทยะ ศปริยะ – มหาเทพผู้ประทานความรักและเมตตา
บทสวด : โอม วิทยะ ศปริยะ นะมะห์
49. ศัษะวตายะ – มหาเทพอันเป็นอมตะ
บทสวด : โอม ศัษะวตายะ นะมะห์
50. กฤติเน – มหาเทพผู้สร้างปัญญาอันยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม กฤติเน นะมะห์
51. วิตภายายะ – มหาเทพผู้ปราศจากซึ่งความกลัว
บทสวด : โอม วิตภายายะ นะมะห์
52. คทิเน – มหาเทพผู้ทรงตะบองใหญ่เป็นอาวุธ
บทสวด : โอม คทิเน นะมะห์
53. จักริเน – มหาเทพผู้ทรงจักรเป็นอาวุธ
บทสวด : โอม จักริเน นะมะห์
54. อิศุจาปะ ธรายะ – พระผู้ทรงศรแห่งความรัก
บทสวด : โอม อิศุจาปะ ธรายะ นะมะห์
55. อัมโยตะ ปะลักรายะ – พระมีพระกรเหมือนดอกบัว
บทสวด : โอม อัมโยตะ ปะลักรายะ นะมะห์
56. ศริษายะ – พระเทพเจ้าแห่งทรัพย์สมบัติ
บทสวด : โอม ศริษายะ นะมะห์
57. ศรีปตเย – พระผู้ทรงเป็นวิษณุเทพ
บทสวด : โอม ศรี ปัตตะเย นะมะห์
58. สตุติ หะรศิตายะ – พระผู้ทรงโปรดการกล่าวสรรเสริญ
บทสวด : โอม สตุติ หะรศิตายะ นะมะห์
59. กุลทริเภเตระ – พระผู้ทรงคล้ายกับเทือกเขาอันน่าสะพรึงกลัว
บทสวด : โอม กุลทริเภเตระ นะมะห์
60. ชิเต – พระผู้ทรงผูกมัดอันยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม ชิเต นะมะห์
61. จันทรจุทายะ –
พระผู้ทรงมีพระจันทร์เสี้ยวประดับอยู่ที่หน้าผากของพระองค์
บทสวด : โอม จันทรจุทายะ นะมะห์
62. อมเรศวรายะ – พระผู้ทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุด
บทสวด : โอม อมเรศวรายะ นะมะห์
63. นาคายัชโยปวิติเน – พระผู้ทรงมีพญานาคเป็นด้ายสายสิญจน์
บทสวด : โอม นาคายัชโยปวิติเน นะมะห์
64. สริกันตายะ – พระผู้มีพระศออันสวยงาม
บทสวด : โอม สริกันตายะ นะมะห์
65. รามาจิตตะ ปทายะ – พระผู้ได้รับการกราบไหว้จากพระราม
บทสวด : โอม รามาจิตตะ ปทายะ นะมะห์
66. วริตเน – พระผู้ท่องสวดมนต์อันเข้มแข็ง
บทสวด : โอม วริตเน นะมะห์
67. สตุลกันตายะ – พระผู้มีพระผู้มีศอเป็นช้าง
บทสวด : โอม สตุลกันตายะ นะมะห์
68. ตรยิก กรเตร – พระผู้สร้าง 3 โลก
บทสวด : โอม ตรยิก กรเตร นะมะห์
69. กวะเย – เทพเจ้าแห่งบทกวีที่ยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม กวะเย นะมะห์
70. สามะโฆศปริยายะ –
พระผู้ทรงโปรดด้วยการท่องสวดพระเวททั้งหลาย
บทสวด : โอม สามะโฆศปริยายะ นะมะห์
71. ปุรุโศตมายะ – มหาเทพแห่งบรรพบุรุษ
บทสวด : โอม ปุรุโศตมายะ นะมะห์
72. สธุตันทายะ – มหาเทพผู้มีพระโอษฐ์อันกว้างไกล
บทสวด : โอม สธุตันทายะ นะมะห์
73. อัครคันตายะ – มหาเทพผู้เป็นใหญ่สูงสุด
บทสวด : โอม อัครคันตายะ นะมะห์
74. ครามันยะ – มหาเทพผู้ได้รับการกราบไหว้ในทุกศาสนา
บทสวด : โอม ครามันยะ นะมะห์
75. คณะปายะ – มหาเทพของบริวารแห่งพระศิวะเทพ
บทสวด : โอม คณะปายะ นะมะห์
76. สธิรายะ – มหาเทพผู้มีความมั่นคง
บทสวด : โอม สธิรายะ นะมะห์
77. วริทธิทายะกายะ – มหาเทพผู้ประทานความร่ำรวย
บทสวด : โอม วริทธิทายะกายะ นะมะห์
78. สุภคายะ – มหาเทพผู้มีความงดงามเป็นเลิศ
บทสวด : โอม สุภคายะ นะมะห์
79. ศุรายะ – มหาเทพผู้งดงามทั้งด้านนอกด้านใน
บทสวด : โอม ศุรายะ นะมะห์
80. วดิศายะ – มหาเทพผู้มีวาทศิลป์ที่ดีเลิศ
บทสวด : โอม วดิศายะ นะมะห์
81. สิทธิทากายะ – มหาเทพผู้ประทานสิทธิ์ทั้งหมด
บทสวด : โอม สิทธิทากายะ นะมะห์
82. ทุรวาพิลวะปริยายะ –
มหาเทพผู้โปรดการบูชาด้วยใบพลูและหญ้าแพรก
บทสวด : โอม ทุรวาพิลวะปริยายะ นะมะห์
83. กานตายะ – มหาเทพผู้เป็นเทพเจ้าของมนุษย์ทั้งหลาย
บทสวด : โอม กานตายะ นะมะห์
84. บาปะหาริเน – มหาเทพผู้ทำลายบาปทั้งปวง
บทสวด : โอม บาปะหาริเน นะมะห์
85. สมาหิตายะ – มหาเทพผู้ประทานพลามัยที่ดี
บทสวด : โอม สมาหิตายะ นะมะห์
86. กฤตาคมายะ – มหาเทพผู้ปรารถนาดีต่อมนุษย์ทั้งปวง
บทสวด : โอม กฤตาคมายะ นะมะห์
87. วักรตุนทายะ – มหาเทพผู้มีพระพักตร์เป็นเส้นโค้งงดงาม
บทสวด : โอม วักรตุนทายะ นะมะห์
88. ศริปรทายะ – มหาเทพผู้ประทานซึ่งทรัพย์สมบัติ
บทสวด : โอม ศริปรทายะ นะมะห์
89. สมุยายะ – มหาเทพผู้มีแต่ความสงบสุข
บทสวด : โอม สมุยายะ นะมะห์
90. ทักตะ กานะ กษิตทานะ –
มหาเทพผู้ปรารถนาดีต่อสาวกของพระองค์
บทสวด : โอม ทักตะ กานะ กษิตทานะ นะมะห์
91. อัชยุตายะ – มหาเทพผู้เป็นอมตะ
บทสวด : โอม อัชยุตายะ นะมะห์
92. ไกวัลยายะ – มหาเทพแห่งอิสรภาพ
บทสวด : โอม ไกวัลยายะ นะมะห์
93. สิทธายะ – มหาเทพผู้เป็นเทพเจ้าที่ดีสุด
บทสวด : โอม สิทธายะ นะมะห์
94. สุจิทานันทะวิคราหายะ – มหาเทพผู้มีความสัตย์อันยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม สุจิทานันทะวิคราหายะ นะมะห์
95. ญาณีเน – มหาเทพแห่งโยคะญาณ
บทสวด : โอม ญาณีเน นะมะห์
96. มายายุกตายะ – มหาเทพผู้มีมายาอันยิ่งใหญ่
บทสวด : โอม มายายุกตายะ นะมะห์
97. ทานตายะ – มหาเทพแห่งทาน และการทำบุญ
บทสวด : โอม ทานตายะ นะมะห์
98. พรหม มัทเวศ – มหาเทพผู้ปราศจากความเกลียดชัง
บทสวด : โอม พรหม มัทเวศ นะมะห์
99. ปรมัตจะไทตยะ ยทายะ – มหาเทพผู้ซึ่งเหล่าอสูรเกรงกลัว
บทสวด : โอม ปรมัตจะไทตยะ ยทายะ นะมะห์
100. วยักตทุรัตเย – มหาเทพผู้เปี่ยมด้วยความสัตย์
บทสวด : โอม วยักตทุรัตเย นะมะห์
101. อรุตกายะ – มหาเทพผู้ไร้รูปร่าง
บทสวด : โอม อรุตกายะ นะมะห์
102. สรวโตมุขายะ – มหาเทพผู้อยู่ทุกหนแห่ง
บทสวด : โอม สรวโตมุขายะ นะมะห์
103. ปราติษัท นกะโรตสังคะ ตะขะละโนตสวายะ –
มหาเทพผู้ประกอบพิธีบวงสรวงต่อพระศิวะ
บทสวด : โอม ปราติษัท นกะโรตสังคะ ตะขะละโนตสวายะ นะมะห์
104. สมัสตะ ขัคทาธารายะ – มหาเทพผู้ค้ำจุนจักวาล
บทสวด : โอม สมัสตะ ขัคทาธารายะ นะมะห์
105. วรษักะ วาหะนายะ – มหาเทพผู้มีหนูเป็นราชพาหนะ
บทสวด : โอม วรษักะ วาหะนายะ นะมะห์
106. หฤษตะ จิตตายะ – มหาเทพผู้มีความผาสุกตลอดกาล
บทสวด : โอม หฤษตะ จิตตายะ นะมะห์
107. ปรสัน สันนาตมะเม –
มหาเทพผู้ประทานความสมหวังต่อเหล่าสาวก
บทสวด : โอม ปรสัน สันนาตมะเม นะมะห์
108. ศรีวสิทธิปรทายะกายะ –
มหาเทพผู้ประทานอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือธรรมชาติ
บทสวด : โอม ศรีวสิทธิปรทายะกายะ นะมะห์
พระศิวะมหาเทพ หรือ พระอิศวร มหาเทพผู้ทำลายล้าง
พระศิวะมหาเทพ หรือ พระอิศวร
พระศิวะมหาเทพ หรือ พระอิศวร
พระศิวะ (คนไทยเรียกว่า พระอิศวร) เป็นบิดาของ พระพิฆเนศ มีชายาคือ พระแม่อุมาเทวี พระศิวะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล หนึ่งใน ตรีมูรติ หรือ 3 มหาเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ)
พระศิวะ นั้นเป็นเทพที่นิยมประพฤติองค์เป็นโยคีหรือผู้ถือศีล ดังนั้นรูปของพระองค์จึงมักปรากฏเป็นเทพที่ทรงเครื่องแบบที่ค่อนข้างติดดิน เป็นต้นว่า ทรงแต่งองค์คล้ายๆ พวกโยคะหรือพวกฤาษีสยายผมยาวแล้วม่นมวยผมเป็นชฎาบนศีรษะ ทรงนุ่งห่มด้วยหนังกวางบ้าง หนังเสือบ้าง
คัมภีร์โบราณหลายเล่มนั้น กล่าวถึงสีพระวรกายของพระศิวะแตกต่างกันไป บางคัมภีร์ระบุว่า พระวรกายของพระศิวะนั้นเป็นสีแดงเข้มราวกับเปลวไฟหรือโลหิต
บางคัมภีร์ว่าพระวรกายขององค์พระศิวะนั้นเป็นสีขาว นวล บริสุทธิ์ ดั่งสีของพระจันทร์
แต่หลายๆคัมภีร์กล่าวไว้ตรงกันว่า พระศิวะนั้นเป็นเทพที่มีพระเนตร 3 ดวง ดวงที่ 3 นั้นจะปรากฏขึ้นอยู่บนหน้าผากขององค์โดยปรากฏเป็นดวงตารูปแนวนอนบ้าง รูปตั้งทรงพุ่มช้างบิณฑ์บ้าง และดวงตาที่3 นี้สามารถมองเห็นอดีตและอนาคตได้อีกด้วย รูปลักษณ์ของพระศิวะนั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามแต่ละปาง
พระองค์ทรงประทานพรวิเศษให้แก่ผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรม หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใดๆ พระองค์ก็จะประทานพรนั้นๆให้ แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงาม ผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะเทพจะเป็นผู้ทำลายทันที!!
มีความเชื่อกันว่าพระศิวะนั้น สามารถช่วยปัดเป่ารักษาเยียวยาอากาศเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์นัก!! หากผู้ใดที่เจ็บป่วยหรือต้องการขอพรให้คนในครอบครัวหายเจ็บไข้ได้ป่วย
ถ้ากระทำการบวงสรวงบูชาและขอพรจากพระศิวะ ก็มักปรากฏว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นถูกปัดเป่าให้หายไปได้โดยสิ้นในเร็ววัน
พระองค์เป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ด้วยเช่นกัน
พระศิวะ นั้นเป็นเทพที่จะอำนวยพรประทานความ
อุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงม้า หรือเลี้ยงแกะ และอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรทั้งปวง ก็จะมีความสำเร็จและมีความสมบูรณ์พูนสุข หากบวงสรวงบชาพระศิวะ…
นอกจากบทบาทความสำคัญโดยรวมที่กล่าวมาแล้วนั้น อีกบทบาทหนึ่งที่เด่นชัดแยกออกไป จากบทบาทของการเป็นมหาเทพ ผู้ทรงมีพระมหากรุณา ประทานพรแก่มวลมนุึ์ษย์นั้น พระศิวะยังทรงเป็นเทพแห่งคีตา คือเป็นเทพเจ้าแห่งการดนตรี และการร่ายรำ ระบำฟ้อนอีกด้วย
พระศิวะ ผู้เป็นพระเป็นเจ้าแห่งการทำลายล้าง พระองค์เปี่ยมไปด้วยอำนาจ พระพักตร์ของพระองค์แสดงให้เห็นว่าเป็นทั้งชาย เป็นทั้งหญิง เป็นทั้งผู้ใจดี เป็นทั้งผู้ดุร้าย จากชิ้นฝุ่นธุลี ไปจนถึงภูเขาหิมาลัย จากมดตัวเล็กๆ ไปจนถึงช้างตัวใหญ่ จากมนุษย์ไปจนถึงพระเป็นเจ้า อะไรก็ตามที่เราสามารถเห็นได้นั้น เป็นรูปแบบของพระศิวะทั้งหมด
ใน คัมภีร์อุปนิษัท ของฮินดู การท่องคำในพระคัมภีร์ส่วนมากมีคำว่า “ศิโวมฺสวหะ” (ข้าคือศิวะ) หมายความว่า บุคคลผู้มีสติปัญญาทุกๆคน ควรพิจารณาถึงตัวเอง และสิ่งทั้งหลายของสากลโลกเป็นรูปแบบของพระศิวะทั้งสิ้น เมื่อคิดระลึกได้อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นก็จะเข้าถึงความสุขความสงบ
พระศิวะ
พระศิวะ
กำเนิดของพระศิวะนั้น ปรากฏเป็นเรื่องที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละยุค
ยุคพระเวท
เรื่องก็มีอยู่ว่า พระพรหม นั้น เกิดความรำคาญอกรำคาญใจเป็นอย่างยิ่งนัก ที่พระเสโทหรือเหงื่อผุดซึมทั่วพระวรกาย และยังไหลรินย้อยลงทั่วบริเวณพระพักตร์อีกด้วย ในวันอันร้อนอ้าวเช่นนั่น พระพรหมทรงบำเพ็ญภาวนา เพิ่มตบะบารมีให้แกร่งกล้าอย่างมุ่งมั่น เมื่อรู้สึกว่าถูกรบกวนด้วยเหงื่อเช่นนั้น ก็จึงได้นำเอาไม้ไปขูดๆ ที่บริเวณพระขนงหรือคิ้ว โดยมิได้ระมัดระวังองค์นัก คมของไม้นั้นจึงได้บาดบริเวณพระขนงของพระองค์ จนกระทั่งปรากฏพระโลหิตผลุดซึมออกมา และหยาดหยดลงบนกองเพลิงเบื้องหน้าของพระองค์นั้นเอง
ทันทีที่พระโลหิตหยาดหยดลงในเปลวเพลิง ก็พลันเกิดเป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง จุติขึ้นมาในเปลวเพลิงนั้น ทันทีที่ถือกำเนิดขึ้นมาเบื้องหน้าพระองค์ เทพบุตรผู้งดงามองค์นี้ก็ได้ร้องไห้ พลางขอให้พระองค์ประทานนามให้แก่ตน ซึ่งพระพรหมได้ประทานให้ถึง 8 นามด้วยกันดังนี้
ภพ สรรพ ปศุบดี อุดรเทพ มหาเทพ รุทร อิศาล อะศะนิ
หลังจากนั้น เทพองค์นี้ก็มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของมนุษย์ทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วบรรดามวลมนุษย์จะนับถือบูชาเทพบุตรองค์นี้ ในนามของ พระรุทร อันเป็นชื่อ หนึ่งใน 8 นาม ซึ่งนามรุทรนี้มีความหมายแปลได้ว่า ร้องไห้ สำหรับนามอื่นๆ อีก 7 นามนั้นยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าไรนัก
ว่ากันว่าพระรุทรเทพบุตรที่มีชื่ออันแปลว่าร้องไห้นี้ เป็นมหาเทพที่มีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร มีอำนาจบารมีค่อนข้างสูงนักในยุคพระเวทนี้ และยังเป็นเทพที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามนิยมนับถือบูชากันอย่างจริงจัง โดยนับถือให้พระรุทรเป็นเทพผู้ทำลายล้าง คือทำลายสิ่งที่เลวร้ายให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วให้พระพรหมสร้างสิ่งที่ดีงามขึ้นใหม่
ยุคมหากาพย์ มหาภารตะ
ในยุคนี้มีความเชื่อกันในเรื่องกำเนิดพระศิวะว่า พระองค์นั้นทรงจุติออกมาจากพระนลาฏ หรือหน้าผากของ พระพรหม จึงเท่ากับว่า พระศิวะ ก็เป็นพระโอรสองค์หนึ่งของ พระพรหม
ยุคไตรเภท
คัมภีร์ในยุคนี้ได้บันทึกถึงกำเนิดพระศิวะว่า ทรงประสูติจาก พระนางสุรภี และพระบิดาก็คือ พระกัศยปะเทพบิดร
คัมภีร์พรหมมานัส
พระศิวะเป็นเทพที่กำเนิดจาก พระประชาบดี มิได้เกิดจากพระโลหิตของ พระพรหม ดังเช่นที่มีการกล่าวไว้ในยุคพระเวท ครั้นเมื่อทรงจุติขึ้นมาแล้วเทพประชาบดีก็ถามพระโอรสว่า เหตุไฉนจึงร่ำไห้โศกาอาดูรตลอดเวลา
พระรุทร หรือเทพบุตรโอรสของพระประชาบดีที่กำลังร่ำไห้อยู่นั้น จึงได้ทูลตอบว่า เพราะว่าพระบิดาไม่ได้ตั้งชื่อ ให้เมื่อไม่มีชื่อก็จึงเสียใจร้องไห้เช่นนั้น พระประชาบดีจึงได้ตั้งชื่อให้โอรสองค์นี้ว่า พระรุทรซึ่งหมายถึงการร้องไห้ และพระรุทรองค์นี้ในคัมภีร์พรหมนัสได้กล่าวไว้ว่า น่าจะหมายถึงองค์ศิวะนั่นเอง
ในคัมภีร์โบราณ ที่ปรากฏอยู่ในหอวชิรญาณ ได้อธิบายถึงประวัติการกำเนิดของพระศิวะไว้ว่า เมื่อโลกได้ถูกเผาด้วยไฟบรรลัยกัลป์จนพินาศโดยสิ้นแล้วนั้น ได้มี คัมภีร์พระเวทและพระธรรม บังเกิดขึ้น และเมื่อพระเวทกับพระธรรมมาประชุมรวมกัน จึงได้บังเกิดเป็นมหาเทพองค์หนึ่งคือ พระปรเมศวร ในคัมภีร์นี้อธิบายการกำเนิดของพระศิวะว่าทรงสร้างพระองค์ขึ้นมาเอง หลังจากการทำลายล้างโลก โดยที่มิได้เป็นโอรสหรือจุติมาจากการนิรมิตสร้างสรรค์ของมหาเทพองค์ใด
ปางต่างๆของพระศิวะ
ปางจักราธนมูรติ (วิษณุวาณุครหมูรติ)
อันเนื่องจาก พระวิษณุเทพ ได้ทำสงครามกับอสูรบนสวรรค์ และเกิดความเพลี่ยงพล้ำไม่อาจชนะฝ่ายอสูรได้ จึงได้ทำพิธีบูชาพระศิวะเทพขึ้น ซึ่งได้บูชาด้วยดอกบัววันละ 1,000 ดอกทุกวัน จนวันหนึ่งหาดอกบัวไม่ได้พระวิษณุเทพจึงควักลูกตาของตนเพื่อถวายบูชาแก่องค์ศิวะเทพ พระองค์ทรงพอพระทัยมาก จึงประทานลูกล้อ หรือ จักรหินสัญลักษณ์ของพระศิวะเทพเพื่อให้เป็นอาวุธของพระวิษณุต่อไป
ปางนนทิศานุครหมูรติ
สรังคยานะ เกิดมาไม่มีบุตรสืบสกุล จึงไปขอพระเป็นเจ้า วิษณุเทพได้ประทานบุตรมาให้ตน ด้วยพอใจการบวงสรวงบูชาของฤาษี บันดาลอิทธิฤทธิ์ให้เด็กถือกำเนิดจากสีข้างของพระองค์ ทารกนี้รูปร่างเหมือนพระศิวะ ทรงพระราชทานนาม นนทิเกศวร นนทิเกศวรได้พรจากพระศิวะ ต่อมานนทิได้นำพิธีทรมานร่างกายบน ยอดเขามันธระ เพื่อให้เข้าถึงพระศิวะเจ้า พระศิวะเทพโปรดปรานมาก ทรงปรากฏตัวให้เห็นและรับเอาฤาษีนนทิเป็นหัวหน้ามหาดเล็กรับใช้อยู่ที่เขาไกรลาศ ทรงแต่งตั้งให้เป็นเทพบุตรนนทิเกศวร ส่วนพระชายาของเทพบุตรพระองค์นี้คือ นางสุยาศุบ้างก็ว่า เทพบุตรพระองค์นี้ตัวเป็นมนุษย์ หัวเป็นโค
ปางกิรทารชุนมูรติ
ท้าวอรชุน (ในมหากาพย์ภารตะ) ทำพิธีบูชาพระศิวะเพื่อขอประทานลูกธนูศักดิ์สิทธิ์ให้ตนเพื่อไปยิงอสูร ท้าวอรชุนได้บวงสรวงอยุ่ที่เขาไกรลาศ พระศิวะใช้มายาแปลงเป็นหมูป่าเข้าทำร้ายพราหมณ์หนุ่มและท้าวอรชุน พราหมณ์หนุ่มต้องการยิงหมูป่า อ้างว่าตนเห็นก่อน แต่ท้าวอรชุนไม่ยอม บอกว่าตนต่างหากที่เห็นก่อนจากนั้นทั้งคู่ก็เลยต้องเดิมพันด้วยการต่อสู้กันก่อน ไม่ว่าท้าวอรชุนจะใช้อาวุธใดก็มีอาจทำร้ายพราหมณ์หนุ่มได้ จนเมื่อท้าวอรชุนทรุดตัวลงกราบ พระศิวะพอพระทัยมอบลูกธนูวิเศษให้ไปปราบอสูร
ปางราวันนานูครหมูรติ
ทศกัณฐ์ เจ้าเมืองลงกา หลังจากทำสงครามกับ ท้าวกุเบร ได้เสด็จผ่าน เทือกเขาหิมาลัย เห็นว่ามีทัศนียภาพอันน่ารื่นรมย์ ตั้งใจจะเข้าไปชมสถานที่ แต่เจอ นนทิเกศวร หัวหน้ามหาดเล็กของพระศิวะเทพขวางทางไว้ เพราะ เขาไกรลาศ เป็นที่ประทับของพระศิวะเทพและ พระนางปราวตี (พระแม่อุมา) ห้ามผู้ใดล่วงล้ำเข้าสู่เขตพระราชฐาน ทศกัณฐ์โกรธมาก จึงขู่อาฆาตและสาปแช่งว่า นนทิต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง แต่นนทิเกศวรบอกว่า ทศกัณฐ์ต่างหากที่ต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง ด้วยความโมโหอย่างถึงที่สุด ทศกัณฐ์เตรียมจะยกเขาไกรลาศขึ้นทุ่ม แค่โยกเขาด้วยอิทธิฤทธิ์เท่านั้น บรรดาเทวดาและมนุษย์ก็เดือดร้อนหนีกันจ้าละหวั่น พระนางปราวตีได้ทูลขอให้พระศิวะให้แก้สถานการณ์ ทรงใช้เท้าเหยียบที่พื้นลงเบาๆ เพื่อให้เขาไกรลาศตั้งดังเดิม และทรงปราบพยศอสูรทศกัณฐ์จนยอมศิโรราบ
ปางกาลารีมูรติ
ฤาษีตนหนึ่ง ได้ทำพิธีบูชาสวดมนต์อ้อนวอนขอลูกกับพระศิวะเทพ พระองค์ทรงโปรดการบูชาจึงประทานลูกให้ แต่บอกว่า เด็กคนนี้จะอายุสั้น ฤาษีและภรรยาได้เลี้ยงดูลูกจนอายุ 16 ปี ลูกชายไปได้บวงสรวงต่อพระศิวะระหว่างที่ชะตาถึงฆาตประจวบเหมาะว่า เป็นช่วงที่เด็กคนนี้กำลังบูชาศิวลึงค์อยู่พอดี พระยม-กาลแห่งความตายได้เดินทางจากเมืองนรกมารับตัวเด็กหนุ่ม พระศิวะเห็นดั่งนั้นทรงพิโรธทรงปรากฏกายออกจากศิวลึงค์เข้าเตะพระยม พระยมสู้ฤทธิ์พระศิวะไม่ได้จึงหนีไปพระศิวะประทานพรให้เด็กหนุ่มมีชีวิตเป็นอมตะ
ปางกานันทกามูรติ
ปางนี้คือปางพระศิวะทำลาย เทพเจ้าแห่งความรัก (กามเทพ) เมื่อ พระนางสตี (ชายาอีกพระองค์หนึ่งของพระศิวะ) เผาร่างตนเองไปนั้น พระศิวะเสียพระทัยมาก และเข้าสู่สมาธิเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ในที่สุดเมื่อพระนางมาจุติใหม่ โดยแบ่งภาคมาจากพระแม่ศักติ-ศิวา มาเป็นพระนางปารวตี (พระแม่อุมา) กามเทพต้องทำหน้าที่เพื่อให้พระศิวะเกิดความรัก เพื่อจะได้มีบุตรในการไปปราบอสูรชื่อ ทาราคา ในที่สุดเมื่อทุกอย่างสำเร็จ ทรงมีโอรสขึ้นมาคนหนึ่งชื่อ ขันธกุมาร (หรือ กาติเกยะ หรือ กุมารา หรือ สุภามันยะ อันเป็นพี่น้องแห่งพระพิฆเนศนั่นเอง) เพื่อไปปราบอสูรทาราคาให้สิ้น
ปางอรรธนารีศวร (ครึ่งพระศิวะ ครึ่งพระแม่อุมา)ปางนี้เป็นปางครึ่งหญิงครึ่งชายในรูปลักษณ์ทางประติมกรรมนั้น จะแบ่งซีก ระหว่างพระศิวะกับพระอุมา ปางนี้ได้กำเนิดขึ้นครั้งแรก ครั้งเดียว ในสมัยการสร้างจักรวาล กล่าวคือ พระพรหมได้รับภารกิจให้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังในการขยายเผ่าพันธุ์ในโลกใด้ ครั้งจะสร้างเพศหญิงขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างมาจากไหน พระพรหมจึงต้องบวงสรวงมหาเทวาธิเทวะ มหาเทวะ ศิวะเทพ เพื่อให้เสด็จมาแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่ พระพรหมบวงสรวงจนเป็นที่พอใจก็เลยเสด็จมา นับเป็นครั้งแรกที่มาในปางอรรธนารีศวร เพศหญิงและเพศชายที่รวมกันอยู่ในร่างเดียวกัน ทำให้พระพรหมเข้าใจในกำลังเสริมของเพศคู่นี้ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และชีวิตใหม่
ในการนับถือพระศิวะนั้น มักมีการทำรูปสมมุติของพระองค์ด้วยการทำเป็นศิวะลึงค์ หรือสัญลักษณ์แห่งเพศชาย ด้วยเชื่อว่า พระศิวะ คือเทพเจ้าแห่งการรังสรรค์การกำเนิด (คติของไศวะนิกายนั้น การสร้างโลกของพระพรหมเป็นคำบัญชาของพระศิวะ)
ดังนั้น สัญลักษณ์สากลที่เป็นตัวแทนของพระองค์ที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็น แท่งศิวลึงค์ นั่นเอง ดังจะพบศิวลึงค์นี้ตามเทวสถานทั้งในยุคโบราณและยุคปัจจุบัน และเชื่อถือกันว่าศิวลึงค์นี้เป็นตัวแทนพระองค์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถบันดาลปาฏิหาริย์อำนวยอวยพรให้แก่ผู้ศรัทธา
คติการนับถือศิวลึงค์ หรือ ลิงคัม หรือ ลิงคะ นี้ถ้าเป็นชาวฮินดูโดยแท้ จะมีหัวใจในการนับถือมุ่งเน้นไปที่พระศิวะมากกว่าอย่างอื่น แต่อย่างในไทยเรานั้นแม้จะมีการนับถือปลัดขิก ซึ่งมีรากฐานมาจากศิวลึงค์อันเป็นตัวแทนของพระศิวะ แต่การนับถือปลัดขิกนั้นก็มิได้มุ่งความใส่ใจไปที่องค์พระศิวะ กลับมุ่งเน้นไปที่ตัวพระเกจิอาจารย์ผู้ปลุกเสกมากกว่า แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างกันมาก เพราะในไทยเราศาสนาฮินดูกลมกลืนอยู่ในศาสนาพุทธ ดังนั้นเครื่องรางจากฮินดูแทนที่จะสื่อไปถึงองค์พระเป็นเจ้าต้นสังกัดแท้ๆ กลับถูกโอนไปที่ตัวพระเกจิอาจารย์แทน
ในวัฒนธรรมฮินดู การนับถือศิวลึงก์หรือลิงคัมนี้ เป็นเรื่องปกติที่มีมานานหลายพันปีมาแล้ว ศิวลึงก์มีทั้งที่เกิดจากการสร้าง ขึ้น และที่เกิดเองตามธรรมชาติ
พาหนะแห่งพระศิวะ (นนทิ, นันทิ)โค หรือ วัว ที่มีนามว่า อุศุภราช หรือ โคนนทิ (อ่านว่า โค-นน-ทิ) คือ โคเผือกที่เป็นพาหนะประจำขององค์พระศิวะ ซึ่งมีกำเนิดที่ไม่ธรรมดา คือโคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพ่อโค แม่โคเหมือนกับโคอื่นๆ แต่ทว่ากำเนิดเกิดจากมหาเทพเลยทีเดียว!!
ดังนั้นการที่ชาวฮินดูไม่นิยมฆ่าวัวก็เป็นเพราะเคารพยกย่องและบูชาโคนนทิ ซึ่งเป็นโคศักดิ์สิทธิ์สำหรับมวลมนุษย์นั่นเอง ตามเทวาลัยหลายๆ แห่งของลัทธิไศวนิกาย (นับถือพระศิวะเป็นใหญ่สูงสุด) ก็จะปรากฏว่ามีการสร้างรูปเคารพของวัวนนทิไว้ให้ชาวบ้านชาวเมืองได้มาสักการะบูชาด้วย
คาถา บทสวดมนต์บูชาพระศิวะ
หมายเหตุ : ก่อนการสวดบูชาพระศิวะนั้น จะต้องสวดมนต์ต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอแต่บางตำราก็กล่าวว่าพระคเณศพึงพอใจที่จะให้ผู้บูชากล่าวคำสรรเสริญพระบิดาและพระมารดาของท่านก่อนเพราะท่านเป็นเทพที่มีความกตัญญูสูง ส่วนจะเลือกแบบใดนั้นก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่านครับ
บทสวดมนต์พระศิวะมีอยู่มากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(เลือกสวดบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท)
1. โอม นะมัส ศิวาย
2. โอม นะมัส ศิวายะ
3. โอม นะมัส ศิวายะ นะมะฮา
– บทอัญเชิญ
4. โอม อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
ทุติยัมปิ อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
ตะติยัมปิ อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
5. โอม กรรมปูระเคารัม กรุณาวะตารัม
สัมสาระสารัม ถุชะเคนทะระหารัม
สะทะวะสันตัม หฤทะยาระวินเท
ภะวัมภะวานี สาหิตัม นะมามิ
พระศรีมหาอุมาเทวี เทวีแห่งพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่
พระศรีมหาอุมาเทวี
พระศรีมหาอุมาเทวี

พระแม่อุมาเทวี…หรือ พระแม่ปารวตี คือพระนามแห่งพระแม่ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล เป็นเทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมีอันสูงสุด พระองค์ทรงประทานยศถาบรรดาศักดิ์ และความเป็นใหญ่แก่ผู้หมั่นบูชาต่อพระองค์อย่างสม่ำเสมอ..!!!
อำนาจแห่งพระแม่อุมานั้น ยิ่งใหญ่หาสิ่งใดเทียบได้ พระองค์ทรงประทานชัยชนะเหนือศัตรู ประทานกำลังวังชาแห่งอิสตรี ทำลายสิ่งชั่วช้า ตลอดจนประทานบริวารและอำนาจในการปกครอง พระองค์ยังทรงประทานพรด้านความสมบูรณ์ ความอิ่มเอม ความผาสุขในการครองเรือน ครอบครัวที่เปี่ยมสุข ตลอดจนการคุ้มครองผู้ศรัทธาให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง
พระศิวะมหาเทพ พระแม่ปารวตี พระคเณศ
พระศิวะมหาเทพ พระแม่ปารวตี พระคเณศ
พระแม่อุมา ทรงเป็นมารดาแห่ง พระพิฆเนศ… เป็นชายาแห่ง พระศิวะ มหาเทพผู้ทำลายโลก 1 ใน 3 แห่ง พระตรีมูรติ พระแม่อุมาจึงเป็น 1 ใน 3 แห่งพระตรีศักติ ด้วย (ตรีศักติ หมายถึง พระแม่ทั้งสาม ได้แก่ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวตี) พระองค์มีวิมานสถิต ณ เขาไกรลาส เช่นเดียวกับพระศิวะเทพ มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์คือ โยนี (ฐานรองศิวลึงก์) มีทิพยรูปเป็นหญิงที่งดงาม เปี่ยมไปด้วยความเมตตา เป็นมารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง ฉลองพระองค์ด้วยอาภรณ์หลากสีสัน ประดับด้วยทองคำอย่างวิจิตร พาหนะแห่งพระแม่อุมาเทวี คือ เสือ อันหมายถึงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ และความสง่างาม
พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา
พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา

พระแม่อุมาเทวี มีอวตารอยู่หลายปาง ปางที่สำคัญที่สุดอีก 2 ปางจากพระแม่อุมา คือ ปางพระแม่ทุรคา (ทุรกา) และ ปางพระแม่กาลี (เจ้าแม่กาลี)
อีกปางหนึ่งที่อยากแนะนำ แต่ไม่ค่อยมีคนไทยรู้จัก นั่นคือ ปางพระแม่อุมาตากี คือการอวตารของพระแม่อุมาเทวี ที่รวมเอาพระแม่อีก 2 พระองค์เข้าไว้ด้วย คือ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี ได้อวตารรวมเป็นร่างเดียวกัน เหมือนกับพระตรีมูรติ นิยมนับถือกันในหมู่ผู้นับถือนิกายศักติ หรือนิกายที่นับถือเฉพาะเทพสตรีทั้ง 3 พระองค์ว่ายิ่งใหญ่เหนือกว่า พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ อันเป็นเทพบุรุษสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ตรีเทวี(พระอุมาตากี) พระแม่ลักษมี พระแม่อุมา พระแม่สรัสวตี
ตรีเทวี(พระอุมาตากี) พระแม่ลักษมี พระแม่อุมา พระแม่สรัสวตี
ตามตำนานโบราณกล่าวกันว่า “พระแม่อุมา ” นั้นแต่เดิมเกิดขึ้นจากการที่พระศิวะใช้พระหัตถ์ข้างขวาลูบเบาๆ ที่กลางพระอุระ พระแม่อุมาจึงจุติขึ้นกลางทรวงอกของพระศิวะ บ้างก็กล่าวไว้ว่าพระแม่อุมาเทวีเป็นธิดาของ ท้าวหิมวัต และ พระนางเมนกา เทพผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาหิมาลัย แต่ในบางคัมภีร์กล่าวไว้ว่าพระอุมาเป็นธิดาของ พระทักษะประชาบดี และเป็นพี่น้องกับ พระแม่คงคา (พี่สาวของพระแม่อุมา) พระอุมาในภาคนั้นมีพระนามว่า พระสตี เป็นชายาของ พระมุนีภพ คือ พระศิวะ อีกภาคหนึ่ง
พระมุนีภพ(พระศิวะ)และพระสตี(พระแม่ปารวตี)
พระมุนีภพ(พระศิวะ)และพระสตี(พระแม่ปารวตี)
การบูชาพระแม่อุมา
อาสนะ หรือ แท่นบูชาสำหรับพระแม่อุมาเทวี ควรปูด้วย ผ้าสีขาว สีทอง สีแดง สีเงิน (หากไม่มีผ้าสำหรับปู สามารถใช้สีทาได้)
ดอกไม้ที่พระองค์โปรด คือ ดอกไม้ที่มี สีเหลือง และ สีแดง โดยเฉพาะ ดอกดาวเรือง ดอกกล้วยไม้ ดอกกุหลาบ
ควรมี ธูปหอม หรือ กำยาน ไว้จุดเพื่อถวายกลิ่นหอมด้วย และสามารถใช้ เตาน้ำมันหอม (แบบอโรม่า) เติมน้ำมันหอมระเหยแล้วจุดเพื่อถวายกลิ่นหอมได้เช่นกัน
เทศกาลสำคัญแห่งการบูชาพระแม่อุมาเทวี คือ เทศกาลนวราตรี ตรงกับวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 11 จะมีการประกอบพิธีกรรมบูชาพระแม่อุมาเทวีในอวตารต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ไม่แพ้เทศกาลคเณศจตุรถี มีการถวายเครื่องสังเวยอย่างอลังการ สรงน้ำองค์เทวรูป สวดมนต์บูชาตลอดวันตลอดคืน มีการแห่องค์เทวรูปพระแม่อุมาไปรอบโบสถ์และรอบเมือง ผู้บูชาจะต้องทานอาหารมังสวิรัติ ผู้เคร่งครัดการบำเพ็ญจะถือศีลอดตลอดระยะเวลา 9 วัน
อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมที่มีรสชาติมัน ปราศจากเนื้อสัตว์ และไม่มีกลิ่นหอมแรงเกินไป สามารถนำขนมโมทกะ หรือขนมลาดู (ขนมชนิดเดียวกับที่ถวายพระพิฆเนศ) มาถวายก็ได้เช่นกัน ตลอดจนผลไม้ และธัญพืชทุกชนิด
พระแม่ปารวตี หรือ พระแม่อุมาเทวี
พระแม่ปารวตี หรือ พระแม่อุมาเทวี
คาถาบูชาพระแม่อุมาเทวี
มีหลายบท ให้เลือกสวดบทใดบทหนึ่ง (หรือสวดทั้งหมด)
– โอม เจ มาตา กี
– โอม ชยะ มาตา กี
– โอม ไชย มาตา กี
– โอม ชยะ ศรี ปารวตี มาตา
– โอม มหาอุมาเทวี นมัส
– โอม มหาศักติ ปารวตี มาตา
– โอม ศรี มหาอุมาเทวี นะมะฮา
– โอม ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา เจ นะมะฮา
– โอม ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
ทุติยัมปิ ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
ตะติยัมปิ ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
(คาถาบูชาทั้งพระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา)
– โอม โรคานา เศษานะปะฮัมสิดุษฎา
รุษตาตุกะมาน สะกะลานาภีษะตาน
ตวามา ศะริตานาม นาวิปันนรานาม
ตวามา ศะริตาฮาทยา ศรยาตาม ประยานติ ฯ
พระศรีมหาทุรคา เทวีแห่งพละกำลัง การสู้รบ และความกล้าหาญ
พระศรีมหาทุรคาเทวี
พระศรีมหาทุรคาเทวี
พระแม่ทุรคา หรือ พระแม่ทุรกา เป็นอีกปางหนึ่งของ พระแม่อุมาเทวี ที่อวตารมาปราบอสูรชื่อ มหิษาสูร นับว่าเป็นปางที่สำคัญและยิ่งใหญ่ไม่น้อยไปกว่าปาง พระแม่กาลี มีความเหี้ยมหาญ แข็งแกร่ง มีพละกำลังมาก แต่ไม่ดุร้ายน่ากลัวเท่ากับปางพระแม่กาลี เมื่อบูชาพระแม่ทุรคาอย่างสม่ำเสมอ พระองค์จะประทานพรด้านความกล้าหาญ ชนะศัตรูรอบทิศ การมีบริวาร มีความยุติธรรม ตลอดจนการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
วิธีแยกความแตกต่างระหว่าง พระแม่อุมา กับ พระแม่ทุรคา
พระแม่อุมาเทวี กับ พระแม่ทุรคาเทวี มีลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกัน ทำให้มีผู้สับสน เข้าใจผิด หรือมองสลับกันเสมอๆ โดยเฉพาะในงานภาพเขียน รูปบูชาของอินเดีย มักจะมีการวาดให้คล้ายๆกัน จึงขอแนะนำข้อสังเกตเบื้องต้นง่ายๆ ดังนี้
– พระแม่อุมา รูปภาพส่วนใหญ่จะวาดให้ทรงพาหนะ เสือ ชื่อ โสมนนทิ (ส่วนน้อยจะเป็นสิงโต)
– พระแม่ทุรคา รูปภาพส่วนใหญ่จะวาดให้ทรงพาหนะ สิงโต ชื่อ สีหะพานาราช (ส่วนน้อยจะทรงพาหนะเสือ)
แต่ถ้าหากในรูปภาพนั้นไม่ได้ทรงพาหนะใดๆ
ให้สังเกตที่ พระกร-พระหัตถ์ (แขนและมือ) ที่ทรง ศาสตราวุธ (อาวุธ) ดังนี้
– พระแม่อุมา มักมี 4-8 พระกร หากปรากฎคู่กับพระศิวะ มักไม่มีศาสตราวุธใดๆ
– พระแม่ทุรคา มักมีมากกว่า 8 พระกรขึ้นไป ทรงศาสตราวุธครบถ้วน
และมักจะมีอสูรที่ชื่อ มหิษาสูร ที่กำลังถูกพระแม่ทุรคาใช้ ตรีศูล (อาวุธสามง่าม) หรือ ดาบ แทงอยู่ด้วย จิตรกรไม่นิยมวาดให้พระทุรคาปรากฎคู่กับพระศิวะ
พระแม่ทุรคามีทั้งหมด 9 ปาง นวทุรคา (navadurga)เป็นปางต่างๆทั้ง9ปางที่บูชาในเทศกาลนวราตรี (นิยมบูชาในอินเดียเหนือ)
1.shailputri 
durga-1shailputri1
shail แปลว่าภูเขา putri แปลว่าบุตรสาว พระแม่ปารวตีเป็นธิดาแห่งราชาแห่งขุนเขาหิมาลัย ทรงถือตรีศูล และดอกบัว มีวัวพาหนะ ในการอวตาลครั้งแรก พระแม่ศักติได้อวตารเป็นพระนางสตี บุตรีแห่งทักษประชาบดี
ครั้งหนึ่งทักษะได้ประกอบพิธียัญญะ โดยมิได้อัญเชิญพระศิวะเจ้าผู้เป็นสวามี แต่พระนาง
ก็ดื้อที่จะไปร่วมพิธีให้ได้ ในการนั้นทักษะดูหมิ่นพระสวามี พระนางไม่สามารถอดทนได้ จึงเผาตนเอง
โดยใช้ไฟ ในพิธียัญญะนั้น อวตารครั้งต่อมาทรงมากำเนิดเป็นบุตรีแห่งราชาแห่งหิมาลัย พระนามว่าปารวตี
2.bramcharini 
durga-2bramcharini
พระหัตถ์หนึ่งถือหม้อ kumbha อีกข้างถือประคำ ผู้เปรี่ยมด้วยความรักและความซื่อสัตย์
ผู้เต็มไปด้วยความรู้ และความสำเร็จ
ครั้งหนึ่งพระนางปารวตีได้รับคำทำนายว่าจะต้องอภิเษกกับพระศิวะ พระนางยินดีมากจึง
ได้บอกกับพระมารดาของพระนางว่าต้องการอภิเษกกับพระศิวะผู้เดียวเท่านั้น หาไม่แล้วก็
จะไม่อภิเษกกับใครอีก จากนั้นพระนางจึงเสด็จออกไปบำเพ็ญตบะ จนเป็นที่พอใจของพระศิวะ
และได้อภิเษกกับพระศิวะ สมดั่งปรารถนา
3.chandraghanta
Chandraghanta
Chandraghanta

ทรงได้รับการบูชาในวันที่ 3 ทรงมีพาหนะเป็นเสือ มีผิวพรรณดั่งทองคำ มี 10 กร
8 กร ทรงอาวุธ ที่เหลือทรงมุทรา แห่งการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และการหยุดสิ่งชั่วร้าย
พระนาม chandra+ghanta หมายความถึงความสุข และความรู้สูงสุด แสดงถึงความสงบสุข
ความร่มเย็น ดั่งแสงพระจันทร์
4.kushmanda 
durga-4kushmanda
ทรงมี 8 กร ถืออาวุธและประคำ มีเสือเป็นพาหนะ ทรงมีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทั้ง 10 ทิศ ดั่งพระอาทิตย์
5.skandmata 
durga-5skandmata
ทรงมีสิงโตเป็นพาหนะ ทรงอุ้มพระขันธกุมารไว้บนตัก ทรงมีตรีเนตร 4 กร
6.kaatyayani 
Kaatyayani
Kaatyayani

ทรงสิงโตเป็นพาหนะ มีตรีเนตร มี 4 กร ถือดาบ และดอกบัว มือประทานพร และประทานอภัย
7.kaalratri 
durga-7kaalratri
ทรงมีผิวสีดำ หรือน้ำเงิน มี 4 กร มีพาหนะเป็นลา ทรงเป็นผู้ทำลายความมืด
และความโง่เขลา ทรงมีตรีเนตรอันงดงาม และสว่างไสว
8.mahagauri
durga-8mahagauri
ทรงวัวเป็นพาหนะ มี 4 กร ถือกลองบัณเฑาะว์และตรีศูล ทรงส่าหรีสีขาวหรือเขียว
9.siddhidatri
durga-9siddhidatri
ทรงมี 4 กร ถือดอกบัว ทรงเป็นที่เคารพ บูชาของเหล่าเทพ ฤาษี มุนี โยคีและผู้ศรัทธา เพื่อ
ความสำเร็จบรรลุธรรม อีกนัยหนึ่งคือปราบอสูรได้รับชัยชนะทุกครั้ง สำเร็จผลได้รับการสรรเสริญทั่วทั้ง 3 โลก
การปฏิบัติ “จักรัน”
พิธีกรรมสำคัญเพื่อบูชาพระแม่ทุรคานั้น เรียกว่าพิธี “จักรัน” คือการบูชาพระแม่ทุรคาด้วยการ สวดภาวนาตลอดคืน นิยมปฏิบัติกันมากในอินเดียเหนือ เช่น เมืองปัญจาบ ฮัรยาน เดลฮี ฯลฯ การปฏิบัตินั้นมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น สำหรับวิธีปฏิบัติจักรันเบื้องต้น คือ
1. เริ่มจากสวดบูชาพระพิฆเนศ
2. ยืน หรือ นั่ง ต่อหน้าองค์เทวรูปหรือรูปภาพพระแม่ทุรคา แล้วสวดบูชาด้วยมนต์พระแม่ทุรคาบทใดบทหนึ่ง
3. สวดบูชาด้วยมนต์ โอม อีง ฮรีง กลีง จามุนดาเย วิชเช โอม ต่อเนื่องจนถึงเช้า
การปฏิบัติเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นการภาวนาถึงพระแม่ทุรคาและขอพรจากพระองค์ สามารถเลือกทำได้ในวันที่ว่าง ถือเป็นการบำเพ็ญตบะอย่างหนึ่ง เพื่อฝึกความอดทน ทรมานกายด้วยการอดนอนให้ได้ข้ามคืน
ผู้ศรัทธายังสามารถเพิ่มกิจกรรมระหว่างการสวดบูชาจักรันได้ เช่น
– เดินวนรอบเทวรูปพระแม่ทุรคา 1 รอบต่อการสวด 1 จบ
– เดินหมุนรอบตัวเอง 1 รอบต่อการสวด 1 จบ
– นับลูกประคำ 1 เม็ดต่อการสวด 1 จบ
– นับก้านธูป 1 ดอกต่อการสวด 1 จบ
– นับกำยาน 1 อันต่อการสวด 1 จบ
– นับดอกไม้ 1 ดอกต่อการสวด 1 จบ
– ก้มกราบ 1 ครั้งต่อการสวด 1 จบ ฯลฯ
นักบวชและโยคีที่ประกอบพิธีนี้ จะเริ่มภาวนาต่อพระแม่ทุรคาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน ไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในรุ่งเช้าของอีกวัน
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการประกอบพิธีจักรัน
การสวดภาวนาเพื่อประกอบพิธีจักรัน และได้ทำกิจกรรมระหว่างการสวดด้วย เช่น การก้มกราบทุกๆ ครั้งที่สวดมนต์ได้ 1 จบ หรือการเดินหมุนรอบตัวเอง ฯลฯ หากกระทำต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมง อาจทำให้หน้ามืด เป็นลม ส่งผลเสียต่อสภาพร่างกายได้ ควรเริ่มจากการปฏิบัติแต่น้อย อาจจะเป็นเพียงคืนละ 1 ชั่วโมง หรือครั้งละ 108 จบ…500 จบ…1,000 จบ ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้น จนสามารถภาวนาได้ถึงเช้าวันใหม่ การสวดนั้นควรสวดภาวนาให้ช้าๆ สงบ นิ่ง และเนิ่นนาน… สามารถจุดเทียน ธูป กำยาน เพื่อให้แสงไฟและกลิ่นหอมโน้มนำจิตใจให้เข้าสู่สมาธิได้ดียิ่งขึ้น
ในช่วงแรกควรมีน้ำดื่มไว้ข้างกายเพื่อจิบแก้กระหาย หากปวดเมื่อยก็ควรเปลี่ยนอิริยาบทท่าทางตามสบาย เพื่อป้องกันความเครียดที่จะเกิดขึ้น และในระหว่างการสวดภาวนา
***ข้อพึงระวังเมื่อปฏิบัติจักรัน***
หากมองเห็นภาพหรือนิมิตที่แปลกประหลาดเกิดขึ้นในจิตหรือในภวังค์ ก็ขอให้ตั้งสติให้ดี ไม่ว่าจะน่ากลัวเพียงใด จงอย่าหุนหันลุกขึ้นวิ่งหนี มิฉะนั้น กายทิพย์จะแตก ส่งผลร้ายต่อสติ ให้ทำใจแข็งค่อยๆลืมตาขึ้น แล้วสวดภาวนาว่า “โอม ศานติ ศานติ ศานติ” เพื่อแผ่เมตตาและปรับจิตใจให้คืนสู่สภาพปกติ หากนิมิตแปลกประหลาดนั้นยังคงเกิดขึ้นอยู่และรบกวนจิตใจอย่างต่อเนื่อง ควรหยุดการทำพิธี และให้ทำสมาธิภาวนาว่า โอม ศานติ ศานติ ศานติ เป็นประจำทุกคืน แล้วสภาพจิตใจจะค่อยๆกลับมาเป็นปกติ …เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก หากปฏิบัติไปนานๆ จะซึมซับและเข้าใจได้เอง…
บทสวดมนต์บูชาพระแม่ทุรคา
บทสวดมนต์พระแม่ทุรกามีหลายบทให้เลือกสวดดังนี้
– โอม ฮรีม กรีม ทุม ทุรคา ชัย นะมะฮา
– โอม เจ ทุรคา มาตา
– โอม ชยะ ศรี ทุรคา มาตา
– โอม ศรี ทุรคา นะมะฮา
– โอม อีง ฮรีง กลีง จามุนดาเย วิชเช โอม (บทสวดสำหรับพิธีจักรัน)
– โอม ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
ทุติยัมปิ ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
ตะติยัมปิ ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
(คาถาบูชาทั้งพระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา)
บทสรรเสริญพระแม่ทุรคา
– ไชย อัมเพ เการี มาอิยา
ไชย ชยามา เการี
นิชา ดินา ทูมะโก ทยาวาตา
ฮารี พรหมมา ศิวะจี
โบฮโล ไชย อัมเพ เการี
ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่เการี (พระแม่ทุรคา)
ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ผู้มีพระวรกายสีเข้ม
พระแม่ผู้เชื่อมพระวิษณุ พระพรหม และพระศิวะไว้ด้วยกัน
ขอสรรเสริญและขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่เการี
พระศรีมหากาลี เทวีแห่งความการุณย์และสันติสุข
พระแม่กาลี
พระแม่กาลี
“พระแม่กาลี” หรือ กาลิกา (กาลราตรี) นับเป็นปางดุร้ายที่สุดของพระอุมา โดยเป็นรูปสตรีที่มีผิวพรรณดำสนิท มีวรกายอ้วนใหญ่ไม่มุ่นเกศา สยายยาว ประบ่ามิได้รวบขึ้นรัดเกล้าไว้ มี 10 พระกรมีอาวุธร้ายถืออยู่ในทั้ง 10 พระกรนั้น โดยอาวุธที่ใช้คือดาบ ที่ริมฝีปากและวรกายยังมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว และประดับเครื่องแต่งองค์อาภรณ์ไปด้วยสังวาลย์สายที่ร้อยไว้ด้วยหัวอสูรที่ร้อยไว้ดังพวงมาลา ตัดมาจากการฆ่าอีกทั้งยังมีงูตัวใหญ่ร้อยคาดองค์ดั่งสังวาลย์เช่นกัน พระหัตถ์หนึ่งใน 10 ของเจ้าแม่กาลีนี้ได้ถือหัวกระโหลกบ้าง บางแห่งก็ว่าไว้ว่าถือหัวยักษ์ซึ่งตัดใหม่มีเลือดหยดเป็นรอยไหลเป็นทาง พระแม่กาลีในภาคนี้นั้นมี ความดุร้ายเหี้ยมโหดเป็นยิ่งนัก
ปางมหากาลีนี้ ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระแม่กาลีได้ต่อสู้อย่างดุเดือดกับมาธูอสูร ที่เคยได้รับพรจากพระศิวะว่าให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดมาธูอสูรตกลงถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด ดังนั้นพระศิวะจึงได้ประทานวิธีให้พระแม่กาลีได้ดื่มเลือดอสูรทุกครั้งโดยที่ยังไม่ทันได้ตกลงถึงพื้นดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตายในที่สุด
ปางกาลีนั้นจึงนับเป็นอีกด้านหนึ่งที่แสดงถึงพลังอำนาจในการปกป้องของผู้เป็นเพศแม่ เป็นธรรมชาติของเพศหญิงที่จะมีภาวะกราดเกรี้ยวรุนแรงไร้ขีดจำกัดชนะเหตุผลทั้งปวง ซึ่งถ้ามีภัยอันตรายก็พร้อมจะสู้หรือป้องกันอย่างยิบตา
ด้วยเหตุนี้ปางที่ดุร้ายอย่างพระแม่กาลี จึงกลับเป็นที่นิยมบูชากันมาก เพราะเชื่อว่าทรงพลังอำนาจในการให้พรผู้บูชาด้วยอำนาจอันไม่ยับยั้งว่าด้วยการประทานความสำเร็จหรือมีชัยชนะต่อศัตรู คือถ้าผู้ใดบูชาจนพระนางพอพระทัยก็จะประทานพรมากมายเพราะเป็นปางที่แสดงลักษณะปลดปล่อย จากความเลวร้ายทั้งมวล(เปรียบกับที่ทรงปราบมาธูอสูรผู้ดุร้าย)
พระแม่กาลีนี้ได้แบ่งภาคจากการบำเพ็ญตบะของพระอุมาเทวี (บางคัมภีร์ ว่า เสด็จออกมาจากนลาฏ (หน้าผาก) ของพระแม่ทุรคา) โดยทรงมีจุดประสงค์เพื่อปราบอสูรตรหนึ่ง นามว่า อสูรทารุณ ความเป็นมามีว่า อสูรทารุณนี้แม้ว่าจะถูกฆ่าสักกี่ครั้งก็ไม่มีวันตาย แล้วที่สำคัญกว่านั้นเมื่อเลือดตกลงพื้นเมื่อใดก็จะทวีขึ้นเรื่อยไปไม่หมดสิ้น ความที่คิดว่ามีอิทธิฤทธิ์มากมายฆ่าไม่ตายจึงทำให้อสูรทารุณเกิดหลงผิดในความเก่งกาจของตนนำมาใช้ในการกลั่นแกล้ง รังแกผู้คน เทวดาทั่วไป สุดท้ายก็คิดได้ว่าเมื่อมีอำนาจขนาดนี้แล้วครองโลกทั้งสามเลยดีกว่า เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วเหล่าเทวดา นางฟ้า ผู้ทรงศีลทั้งมวล จึงต้องนำเรื่องเข้าเฝ้าพระอิศวร เพื่อหาทางปราบอสูรทารุณ เหล่าเทวดาทั้งหลายเมื่อได้ฟังสรรพคุณของอสูรก็ไม่มีใครกล้าอาสาออกไปสู้รบเลย จนที่สุดจะทนองค์พระศรีมหาอุมาเทวี เทพสตรีแห่งสวรรค์ได้มีความประสงค์ที่จะออกปราบอสูรร้าย ซึ่งพระองค์ได้ขอพร ขอบารมีต่อองค์พระศิวะผู้เป็นเจ้า เพื่อให้ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ แล้วจึงเสด็จเพื่อบำเพ็ญตบะทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ให้มีฤทธิ์อำนาจปราบอสูรร้ายได้ โดยได้กระทำพิธีในอุทยานเขตแดนป่าหิมพานต์ โดยพระศรีมหาอุมาเทวีได้ทรงมอบหมายให้องคพระขันธกุมาร (สะกันทะ) รับหน้าที่ดูแลไม่ให้ใครย่างกรายเข้าไปในบริเวณพิธีโดยเด็ดขาด
เมื่อเวลาผ่านไปพระศิวะจึงทรงเสด็จเข้าไปในอุทยานเพื่อให้รู้แน่ว่าที่นั้นเกิดอะไรขึ้น แต่แล้วพระองค์ก็พบกับพระขันทกุมาร โอรสองค์เล็กของพระองค์จึงทรงสอบถามว่าพระอุมาเทวีอยู่ที่ใด และจะขอเข้าพบ โอรสขันทกุมารเมื่อได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวตอบไปด้วยความที่ได้ทรงรับคำสั่งจากพระอุมาเทวีก่อนเข้าบำเพ็ญตบะ ว่าไม่ให้ใครย่างกายเข้าสู่บริเวณพิธีโดยเด็ดขาด จึงทรงไม่สามารถให้องค์พระศิวรผ่านเข้าไปในพิธีได้ เมื่อเป็นดังนั้นจึงเกิดการโต้เถียงขั้น สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการต่อสู้ระหว่างองค์ขันทกุมารกับองค์พระอิศวร โดยฝ่ายพระอิศวรเป็นฝ่ายรุกไล่ และองค์ขันทกุมารเป็นฝ่ายล่าถอยและตั้งรับ เหตุการณ์ผ่านไปไม่นานนักก็ถึงเวลาที่พระอุมาเทวีทรงบำเพ็ญตบะจนเสร็จพิธีได้เสรด็จออกมา แต่สิ่งที่ปรากฏกลายเป็นรูปกายที่เปลี่ยนจากเดิมเป็นพระแม่กาลี ย้อนกลับถึงการต่อสู้เมื่อสู้จนผ่านมายังพระแม่กาลี องค์ขันทกุมารเมื่อเห็นพระแม่กาลีจึงตรงเข้าหาพระแม่ และเล่าถึงเรื่องที่ผ่านมาทั้งหมด โดยที่องค์ขันทกุมารเมื่อพบเห็นรูปกายพระแม่อุมาก็ทรงทราบได้ว่านี้คือพระแม่ของตน เมื่อได้ฟังคำจากโอรสองค์เล็กจึงเกิดอาการลืมตัวตาถลนออกนอกเบ้า หน้าตาดุดัน แลบลิ้นยาวน่าเกลียดหน้ากลัว ทำปากแบะกว้างเห็นเขี้ยวโง้ว มีเลือดไหลๆ ไหลจากมุมปากและตามมือและลำตัว ส่งกลิ่นคาวคลุ้งไปทั่ว ตรงเข้าหาพระอิศวรทันทีด้วยความโมโหนัก เมื่อพระอิศวรทรงเห็นถึงกับผงะและตกใจกลัววิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต ส่วนพระแม่กาลีก็ทรงไล่ตามเรื่อยจนพระอิศวรทรงพ้นจากเขตอุทยานไป พระแม่กาลีจึงทรงย้อนกลับไปหาพระขันทกุมาร ด้วยเห็นถึงความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ไม่ยอมผิดคำสัตย์ที่พระองค์ทรงมอบหมายให้ถึงแม้นว่าจะเป็นถึงพระบิดาของตนก็ตาม เหตุการณ์นี้จึงเป็นที่ชื่นชมและทรงพอพระทัยยิ่งในโอรสของพระองค์
จากนั้นพระแม่กาลีจึงรีบเสด็จออกจากอุทยานเพื่อตามล่าสังหารอสูรทารุณ ซึ่งไม่นานพระแม่กาลีก็ได้เผชิญหน้ากับอสูรทารุณ และด้วยฤทธิอำนาจของทั้ง 2 ฝ่าย การต่อสู้ที่ยาวนานจึงเกิดขึ้น ด้วยร่างกายที่แข็งแรงของพระแม่กาลีการต่อสู้จึงดำเนินไป และเป็นจังหวะที่พระแม่ทรงใช้ดาบฟันคอสูรขาด แต่แล้วเลือดของอสูรก็หยดลงพื้นแผ่นดินกลับกลายเป็นการกลับคืนชีวิตของอสูรร้ายตนนี้โดยไม่ว่าจะฆ่าฟันกี่ครั้งเลือดหยุดสู่พื้นก็บกลับเป็นอสูรเพิ่มทวีเรื่อยๆ เมื่อเป็นดังนี้ต่อไปคงไม่มีวันฆ่าอสูรตนนี้ให้ตายเป็นแน่ พระแม่กาลีจึงคิดกลอุบายเพื่อเอาชัยชนะในครั้งนี้ให้ได้ โดยการตัดหัวอสูรพร้อมทั้งทรงดูดกินเลือดอสูรก่อนที่เลือดจะตกลงสู่พื้น เมื่อกินจนกระทั่งหมดสิ้นแล้วรูปกายของพระแม่กาลีถึงกับพุงกางด้วยความอิ่ม ในมือนั้นถือหัวของอสูรที่ตัดร้อยเป็นพวงไว้จนที่สุดของที่สุด อสูรตนนั้นจึงสิ้นฤทธิ์ลงเพราะไม่มีหยดเลือดหยดลงพื้นแล้วจึงสิ้นสุดลงเพียงนี้
00kali-shiva
ด้วยความดีพระทัยในการได้รับชัยชนะในครั้งนี้ พระแม่กาลีจึงทรงเต้นรำอย่างสำราญฤทัยที่สุด จนลืมพระองค์ไป ทรงยกเท้าขึ้นสูงหมายจะกระทืบลงบนพื้นโลก เหล่าเทวดาทั้งหลายเห็นแล้วก็กลัวว่าพระแม่กาลีจะกระทืบลงบนพื้นโลกเป็นแน่ จึงเข้าเฝ้าพระอิศวรเพื่อหาทางแก้ไขโดยทันการณ์ แล้วพระอิศวรจึงทรงตระหนักได้ว่าพระแม่กาลีที่รูปกายน่าเกลียดนั้นแท้จริงแล้ว ก็คือพระศรีมหาอุมาเทวี พระมเหสีแห่งพระองค์นั้นเอง เมื่อเป็นดังนี้พระแม่กาลีก็ย่อมต้องคิดตรงกับพระองค์เป็นแน่ว่าแท้จริงแล้วพระแม่กาลีก็ต้องทรงเกรงใจ และจดจำพระองค์ได้บ้างเป็นแน่ และแล้วพระอิศวรจึงเสด็จไปพบพระแม่กาลีและทรงลงไปนอนขวางพื้นโลกไว้ ในขณะที่พระแม่กาลีกำลังดีใจพร้อมจะกระทืบเท้าลงก็พรันต้องชะงักเมื่อมองเห็นพระอิศวรผู้สวามีลงไปนอนขวางแทนอยู่ พระแม่กาลีทรงมีความเกรงใจต่อพระอิศวรผู้เป็นสวามีอย่างที่สุดจึงไม่กล้ากระทืบลงพระอุระ และหยุดการกระทำนั้นลง เหล่าเทวดาทั้งหลายทั้งมวลจึงยกย่องพระอิศวร และแม่กาลี พากันศรัทธาในพระองค์ยิ่งขั้นจากการปราบอสูรร้าย และการแก้ไขเหตุการณ์ในครั้งนี้
การบูชา
มหากาลีบูชา วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10
อาสนะแท่นที่ประดิษฐานปูด้วยผ้าแดงหรือดำ ทรงโปรดดอกไม้สีแดงทุกชนิดนิยมใช้ดอกชบาแดงหรือกุหลาบแดง ธูปและกำยานใช้กลิ่นไม้จันทร์ น้ำมันหอมระเหยกลิ่นกระดังงา การบูร แองเจลลิกา นิยมถวายเครื่องสังเวยด้วยขนมที่มีสีแดง(แทนเลือดแพะ)หรืออาหารคาวที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ พร้อมถวายเหล้า แต่ถ้าถวายขนมและผลไม้ไม่ต้องมีเหล้า ใช้น้ำแดงแทน
คาถาบูชาบทสรรเสริญพระแม่กาลี
โอม ชยะตี มหากาลี ชยะตี อาธยะ กาลี มาตา ชยะรูปะ ประจัญทิกา
มหากาลิกะ เทวี ชยะตี รักตาสะนะ เราทะระมุขี รุทะรานี อริ โศนิตขะไประ
ภะระนี ขัททะคะ ธะระนี ศุจี ปาณนี
หรือ “โอม สตี เยมาตา กาลี ” หรือ “โอม เจ มา ตา กาลี”
พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุเทพ
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์

พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ ทรงประทับบนสวรรค์ เรียก ไวกูณฐ์ พาหนะ คือครุฑ พระวรกายสีนิล ฉลองดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎ อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักร ตรี คธา บ้างก็กล่าวไว้ว่าทรงถือ ดอกบัว ลูกศร ดอกไม้ หรือเชือกบ่วงบาสก์ หรือสายฟ้า อาวุธประจำที่ใช้ คือ สังข์ จักร คฑา ธนู และพระขรรค์
พิธีกวน น้ำอมฤต เรื่องเล่าขานไว้ต่างกันไปมาก อาทิว่า เกิดจากการที่พระอินทร์กับพระฤาษีนาม พระฤาษีทุรวาส เกิดขัดอกขัดใจกันด้วยเหตุว่า ในสมัยที่พระอินทร์ท่านขึ้นสู่สวรรค์ใหม่ๆ นั้นได้ทำตัวเกะกะระราน ใจคอคดโกงผู้อื่น สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ต่อมาเวลาผ่านไปพระอินทร์หมดฤทธิ์เดช (เสื่อมลง) จึงกลับใจ สร้างแต่ความดี บำเพ็ญบารมีสะสมความดีช่วยเหลือผู้อื่นในเวลาต่อมา กล่าวถึงพระฤาษีทุรวาส มีความเกลียดชังพระอินทร์อย่างมากจากเหตุที่ถูกรังแกให้ได้รับความเดือดร้อน ถึงกับสาปให้พระอินทร์เป็นผู้แพ้ตลอดไป ไม่ว่าจะต่อสู้กับใคร เมื่อใดก็ตาม ส่วนอีกเรื่องเล่าได้กล่าวไว้ว่า ณ ป่าหิมพานต์ พระฤาษีทุรวาสได้บำเพ็ญเพียรอยู่ได้รับถวายพวงมาลาซึ่งทำจากดอกไม้สวรรค์จาก หญิงงามนางหนึ่ง เมื่อพระฤาษีนำมาสวมก็เกิดแพ้กลิ่นดอกไม้นั้นอาการคล้ายแพ้เกสรดอกไม้เกิด คลั่ง เต้นรำกลางอากาศไปเรื่อยจนได้พบกับพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณผ่านมาพอดี จึงนำพวงมาลาถวายพระอินทร์ ทรงนำพวงมาลามาวางไว้บนเศียรช้างเอราวัณ เมื่อช้างได้กลิ่นดอกไม้ก็เลยเกิดอาคารคลั่งดั่งพระฤาษีในตอนแรก จึงเอางวงจับพวงมาลามากระทืบ ฝ่ายพระฤาษีเห็นดังนั้นก็เกิดบันดาลโทสะ โกรธหาว่าพระอินทร์ดูหมิ่นเอาดอกไม้ให้ช้างเอราวัณกระทืบ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วพระฤาษีจึงสาปให้พระอินทร์เสื่อมฤทธิ์อำนาจลง และกล่าววาจาสาปไว้อีกว่าหากรบกับยักษ์ก็ขอให้แพ้ ไม่ว่าพระอินทร์จะกล่าวขออภัยเช่นไร อ้อนวอนอย่างไรพระฤาษีก็บอกกลับว่าพระอินทร์นั้นควรจะออกคำสั่งกับช้าง เอราวัณให้เชื่อฟังได้ ไม่ควรปล่อยให้เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ เรื่องที่สองที่กล่าวมาไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม เหล่าเทวดาทั้งหลายพากันวิตกเป็นอันมาก จึงนำเรื่องไปปรึกษากับพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม เทพทั้ง 3 องค์ จึงตกลงกันว่าจะต้องทำพิธีกวนน้ำอมฤต เพื่อหากใครดื่มจะไม่ตาย ถึงแม้จะแพ้พ่ายก็เหมือนกับว่าไม่แพ้ การประกอบพิธีกวนน้ำอมฤตจึงเริ่มขึ้น โดยจะต้องใช้เขามันทระเป็นไม้กวนทะเลเกษียรสมุทร นำพระยาวาสุกรี (พญานาค) เป็นเชือกพันรอบเขามัทระ และเหล่าเทวดา-อสูร ต่างก็รวมใจกันเข้าชักสายเชือก อสูรดึงด้านหัวพญานาค ส่วนเหล่าเทวดาดึงหางพญานาค เพื่อให้เขามันทระหมุนเรื่อยๆ ในทะเลเกษียรสมุทร ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นแรมปีในการกวนน้ำอมฤต เหตุนี้พระนารายณ์ทรงเล่งเห็นว่าหากทำไปเรื่อยๆ อาจทำให้ทะลุลงไป น้ำนั้นอาจจะทะลักท่วมโลกเป็นแน่ จึงทรงอวตารแปลงกายเป็นเต่ายักษ์ลงไปรองรับแผ่นโลกไว้ ” ปางอวตารที่ 2 กูรมาวตาร” พิธีกวนน้ำอมฤต ได้บังเกิดสิ่งวิเศษ 14 อย่าง คือ 1. น้ำอมฤต 2. หมอธันวันตรี “เทวแพทย์” 3. พระนางลักษมี เสด็จจากดอกบัว เป็นมเหสีของพระนารายณ์ 4. สุรา เทพีแห่งน้ำเมานาม วารุณี วรกายงดงามยิ่งนัก 5. พระจันทร์ พระอิศวรนำมาเป็นปิ่น 6. เทพอัปสรมากมาย 7. ม้าอุจฉัยห์ศรพ ภายหลังมอบให้พระอินทร์ 8. เพชรเกาสตุภ 9. ต้นปาริชาต ต้นไม้ทิพย์มีกลิ่นหอม พระอินทร์นำไปปลูกในสวนนันทนอุทยาน บนสวรรค์ 10. วัวสุรภี หรือกามะเธนู (ผู้ให้ทุกอย่างตามต้องการ) เหล่าเทวดาได้มอบให้พระวิสิษฐ์มุนี 11. ช้างไอราวัต 12. สังข์ 13. ธนู 14. พิษ (จากพญานาคที่พันรอบเขามันทระได้คลายพิษ เหตุจากทนต่อการกวนเกษียรสมุทรไม่ไหว) บ้างก็ว่าฝูงพญานาคพากันดูดพิษไว้ นับจากนั้นมาพญานาค (งู) จึงมีพิษมาจนถึงทุกวันนี้
โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะทรงบรรทมอยู่บนหลัง อนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือ พระลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้างๆเสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ
พระวิษณุ มีอีกชื่อหนึ่งว่า “หริ” แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก “หริ” โดย”หริ”ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ
* พระพรหม มีหน้าที่สร้างและลิขิตสรรพสิ่งทั้งปวงในทั้งสามโลก
* พระวิษณุ หรือ พระหริ มีหน้าที่ดูแลทั้งสามโลกให้อยู่ในความเรียบร้อย และสมดุล
* พระศิวะ มีหน้าที่ทำลายสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวงในโลกทั้งสาม
• พระวิษณุหรือพระนารายณ์ : เทพผู้รักษาคุ้มครองโลก
• คำว่า “พระนารายณ์” หมายถึง ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ คือกำลังบรรทมอยู่เหนือหลังพญานาคราช ชาวฮินดูที่นับถือไวษณพนิกาย จะเชื่อถือว่า พระวิษณุหรือพระนารายณ์นั้นจะต้องเป็นเทพสูงสุด หลักฐานตามคัมภีร์พราหมณ์ปุราณะ ได้กล่าวไว้ว่า พระศิวะได้ทรงสร้างโลกขึ้นมา แต่งานที่จะรักษาโลกให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขเป็นเรื่องที่ยากกว่า ดังนั้นพระศิวะจึงสร้างพระวิษณุ ให้มาเป็นผู้ช่วยรักษา ในช่วงเวลาที่สร้างโลกอยู่นั้น พระนารายณ์ก็จะอวตาร เพื่อจะลงมาช่วยปราบยุคเข็ญในโลกเป็นจำนวนมากถึง 10 ครั้ง ได้แก่ อวตารเป็น ปลา เต่า หมูป่า นรสิงห์ พราหมณ์ถือขวานเพชร พราหมณ์เตี้ย พระราม พระกฤษณะ พระพุทธเจ้า บุรุษที่ชือกัลลี
• ลัษณะของพระวิษณุ มี 4 กร ทรงถือคฑา สังข์ จักร และดอกบัว มีพาหนะเป็นครุฑ
• พระนารายณ์อวตารมาปราบกลียุคในโลกมนุษย์และโลกสวรรค์ มีทั้งหมด 10 ปาง ได้แก่
1.ปางมัตสยาวตาร อวตาลเป็นปลาขนาดใหญ่โต เนื่องจากต้องการจะปราบหัยศรีอสูร หรือยักษ์ชื่อหัยครีพ เพราะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เหล่ามนุษย์ทั้งหลายหลงผิด จนกระทั่งทำให้เกิดน้ำท่วมโลกขึ้นมา
2.ปางกูรมาวตาร อวตารเป็นเต่ายักษ์ในการกวนเกษียรสมุทร เพราะต้องการจะเอากระดองมารองรับเขามันทระ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดแผ่นดินทะลุลงไปยังโลกมนุษย์ได้
3.ปางวราหาวตาร อวตารเป็นหมูป่า เพราะต้องการที่จะทำการปราบอสูร หิรัณยักษา นอกจากนี้เองก็ยังต้องการที่จะกอบกู้โลกไม่ให้หิรัณยักษา กดให้จมน้ำ
4.ปางนรสิงหาวตาร อวตารลงมาเกิดเป็นสัตว์ที่มีลักษณะครึ่งคนครึ่งสิงห์ เพราะต้องการที่จะปราบเจ้ายักหิรัณยกศิปุ ที่อาละวาดไปทั่วทั้ง 3 โลก ได้แก่ โลกสวรรค์ โลกบาดาล และโลกมนุษย์ เนื่องจากเจ้ายักษ์หิรัณยกศิปุนั้นได้รับพรมาจากพระพรหมว่า ไม่มีใครมนุษย์ สัตว์ เทวดา ยักษ์หรือผู้ใดฆ่าให้ตายได้ ไม่มีอาวุธชนิดใดฆ่าให้ตายได้ ไม่ตายในเวลากลางวันและกลางคืน ไม่ตายในบ้านและนอกบ้าน ดังนั้นพระนารายณ์จึงได้อวตารเป็นนรสิงห์ เพื่อจะฆ่ายักษ์ตนนี้ ลองมาติดตามตอนนี้ดูนะครับ..
“เมื่อพระวิษณุอวตาลเมื่อเป็นนรสิงห์ เพื่อปราบยักษ์หิรัณยกศิปุ ซึ่งฆ่าอย่างไรก็ไม่ตาย จึงรู้ว่าเจ้ายักษ์ตนนี้ได้รับพรวิเศษจากพระพรหม จึงได้จับยักษ์หิรัณยกศิปุมาวางพาดตรงขื่อธรณีประตูบ้าน ซึ่งเวลานั้นเป็นเวลาโพล้เพล้ แล้วถามเจ้ายักษ์ว่า “เราเป็นมนุษย์ใช่มั๊ย เป็นเทวดาใช่มั๊ย เป็นยักษ์ใช่มั๊ย เป็นสัตว์ใช่มั๊ย” ซึ่งเจ้ายักษ์ก็ตอบไม่ได้ แล้วก็ถามต่อว่า “เวลานี้กลางวันหรือกลางคืน” ยักษ์ก็ตอบไม่ได้เช่นกัน แล้วก็ถามต่อว่า “ตอนนี้ตัวท่านอยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน” ยักษ์ก็ตอบไม่ได้อีก จากนั้นก็ถามว่า “เล็บมือเราเป็นศาสตราวุธหรือไม่” เจ้ายักษ์ก็ตอบว่า ”ไม่” เจ้านรสิงห์ก็เลยเอากรงเล็บฉีกอกยักษ์หิรัณยกศิปุจนตาย เพราะว่าพรของพระพรหมที่ให้ไว้เสื่อมครับ
สำหรับเรื่องนี้จึงเป็นที่มาของความเชื่อของคนต่างจังหวัดว่า “ห้ามนอนก่อนตะวันตกดิน” และ “ห้ามนั่งทับธรณีประตู” ครับผม…
5.ปางวามนาวตาร อวตาลเป็นพราหมณ์แคระหรือพรามณ์วามนะ ซึ่งมีฤทธิ์เดชมากเพราะต้องการจะมาทรมานอสูรพลี ที่ได้ครองโลกทั้ง 3 อยู่ และไม่มีใครสามารถปราบลงได้ ด้วยเหตุนี้เองพรามณ์วามนะจึงได้ทำการสะกดจิตอสูรพลีเพื่อต้องการให้ยอมเอ่ยสัญญา เมื่อพรามณ์วามนะอยากจะขอพื้นที่บนโลกมนุษย์เพียง 3 ก้าวเท่านั้นเพื่ออาศัย เจ้ายักษ์พลีก็ยินยอมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่หารู้ไม่ว่าหลงกลเจ้าพราหมณ์วามนะ ส่วนเจ้าพราหมณ์ก็ได้ทำการเนรมิตให้ร่างกายมีขนาดใหญ่โต ก้าวเพียง 3 ก้าวก็ได้อาณาเขตไปถึงโลกสวรรค์ โลกบาดาล และโลกมนุษย์ จากนั้นก็ได้ให้ยักษ์พลี ลงไปอยู่ยังใต้บาดาลแทน
6.ปางปรศุรามาวตาร อวตาลเป็นพราหมณ์ โดยได้ถือขวานเพชร เพราะต้องการปราบกษัตริย์ผู้ปราศจากคุณธรรม นอกจากนี้แล้วยังได้ทำการชำระโลกถึง 21 ครั้ง เพียงต้องการทำลายล้างกษัตริย์ให้สิ้นไป
7.ปางรามาวตารหรือรามจันทราวตาร อวตาลเป็นพระรามเพราะต้องการปราบยุคเข็ญและปราบทศกัณฑ์ โดยตามเนื้อเรื่องของคัมภีร์รามายณะ มีฤๅษีวาลมิ เป็นชาวอินเดียแต่งขึ้นมาเมื่อ 2,400 ปีเศษ หลังจากนั้นก็ได้แพร่กระจายออกไปยังประเทศใกล้เคียง
8.ปางกฤษณาวตาร อวตาลเป็นพระกฤษณะ ผู้ที่มีลักษณะผิวกายเป็นสีดำ เพราะต้องการจะปราบเหล่าคนชั่วที่อยู่ในโลก ได้แก่ กษัตริย์กังสะหรือพญากงส์ นอกจากนี้แล้วยังได้เป็นผู้อบรมสั่งสอนพระอรชุน ในด้านธรรมะต่างๆ ภายหลังได้กลายเป็นคำสอนที่อยู่ใน “คัมภีร์ภควัทคีตา” แล้วยังเป็นสารถีขับรถม้าให้กับ พระอรชุน ซึ่งเป็นแม่ทัพฝ่ายปาณฑพ ในสงคราม “มหาภารตยุททธ์” จนได้รับชัยชนะในที่สุด
9.ปางพุทธาวตาร อวตาลมาเป็นพระพุทธเจ้า เนื่องจากต้องการชี้แนะแนวทางให้ผู้ที่หลงผิด ให้ได้เห็นความถูกต้องที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง แต่ก็ยังเป็นความขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์ เพราะการที่พราหมณ์ได้จัดเอาพระสมณโคดม เป็นปางที่ 9 ของพระนารายณ์ สาเหตุเพราะได้รู้ว่ามีผู้เลื่อมใสในทางพุทธศาสนาจำนวนมาก จนในที่สุดก็เกินกำลังและไม่สามารถเปลี่ยนความคิดเหล่านั้นได้อีกต่อไป สุดท้ายจึงได้ผนวกเอาพระพุทธเจ้าให้เป็นอวตารของพระนารายณ์เสียเลย ซึ่งไม่สามารถยอมรับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นสิ่งถูกต้องต่อไปได้อีกแล้ว ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่าต้องยอมรับว่าคำสั่งสอนของเหล่าพราหมณ์ทั้งหลายนั้นผิดหมด จึงจำเป็นต้องหาคำกล่าวมาแก้ต่างต่อไปว่าพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า
10.ปางกัลกยาวตาร อวตารลงมาเป็นอัศวินม้าขาวหรือบุรุษชื่อกัลลี มีดาบวิเศษอันทรงฤทธิ์ เพราะต้องการที่จะปราบคนชั่ว และได้เริ่มมีการสถาปนาระบบธรรมะขึ้นมาใหม่ เพื่อต้องการที่จะให้สังคมบ้านเมืองมีแต่ความสุขตลอดไป
ในคัมภีร์ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุเป็นใหญ่) กล่าวว่าเมื่อยามที่พระวิษณุผู้เป็นใหญ่แห่งจักรวาลมีประสงค์จะสร้างโลกทั้ง 3 นั้น ท่านได้เห็นว่าการสร้างโลกทั้ง 3 นี้ เป็นงานที่หนักสำหรับคนเพียงคนเดียว ท่านจึงแบ่งบางส่วนของร่างกายพระองค์ออกเป็นมหาเทพทั้ง 3 พระองค์ โดยแขนซ้ายเป็นพระพรหม แขนขวาเป็นพระศิวะ และส่วนอกเป็น พระวิษณุ (แม้แต่ในรูปตรีมูรติ ก็จะเห็นว่า พระพักตร์ของพระวิษณุจะอยู่ตรงกลางเสมอ)
ส่วนในคัมภีร์ของไศวนิกาย (นับถือพระศิวะเป็นใหญ่) จะกล่าวต่างออกไปคือ “พระปรเมศวร” (พระศิวะ) เป็นผู้สร้างพระวิษณุ เนื่องจากทรงมีพระประสงค์จะสร้างสวรรค์และโลก ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่ จึงได้ทรงต้องการผู้ช่วย โดยการนำหัตถ์ซ้ายมาลูบหัตถ์ขวา จึงบังเกิดเป็นเทพชื่อ “พระวิษณุ” หรือ “พระนารายณ์” พระปรเมศวร ได้สอนศิลปะด้านต่าง ๆ ให้กับพระวิษณุ ในทุกด้าน และให้ประทับอยู่ ณ เกษียรสมุทร เมื่อเกิดเหตุร้ายในโลกมนุษย์ หรือสวรรค์เมื่อใด พระวิษณุก็จะมีหน้าที่ไปปราบปรามเหล่าอสูร และผู้ประสงค์ร้ายนั้น ๆ โดยในบางคราวก็จะได้รับการร้องขอจากเหล่าเทพเทวดาบ้าง
คัมภีร์มหาภารตะ เล่าไว้ถึงพระนารายณ์ว่าแต่เดิมคือฤๅษีตนหนึ่ง เป็นบุตรของฤๅษีธรรมมะ ได้เดินทางจากโลกมนุษย์ ไปสู่สถานที่ของพวกพราหมณ์พร้อมเพื่อนสนิทนามว่า “นร” เพื่อบำเพ็ญเพียรจนได้รับการเคารพบูชาจากเทพเทวดาทั้งมวล ต่อมาได้รับการขอร้องจากเหล่าเทวดาให้ช่วยปราบอสูรที่สร้างความเดือดร้อน ฤๅษีทั้งสองจึงได้รับปากช่วยเหลือโดยได้ออกรบกับอสูรจนได้รับชัยชนะ จึงได้รับความเคารพนับถือจากเหล่าเทวดายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน จนภายหลังฤๅษีนารายณ์ได้ออกเดินทางไปบำเพ็ญตนยังหิมาลัยจนบรรลุผลเป็น พราหมณ์ (ผู้รู้แจ้งทุกสิ่งในโลก) และได้เป็นผู้นำเหล่าพราหมณ์ในเวลาต่อมา จากการยกย่องบูชาตลอดที่ผ่านมาจนเป็นที่รู้จักในนาม “พระวิษณุ (นารายณ์) ”
พระนามของพระวิษณุ พระนารายณ์ มีผู้ขนานนามเรียกขานจากความแตกต่างกันตามความเชื่อ พระนามตามฤทธิ์อำนาจ และตามเหตุการณ์ที่ต่างกันตามกาล อาทิ อนันตะ ไม่สิ้นสุด จตุรภุช มี 4 กร มุราริ เป็นศัตรูแห่งมุระ นระ (นะระ) ผู้ชาย นารายณ์ ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ ปัญจายุทธ พระผู้ทรงอาวุธทั้ง 5 อย่าง ปีตามพร ทรงเครื่องสีเหลือง ทโมทร มีเชือกพันเอาไว้รอบเอว กฤษณะ, โควินทะ, โคบาล ผู้เลี้ยงวัว ชลศายิน ผู้นอนเหนือน้ำ พระพิษณุหริ ผู้สงวน อนันตไศยน นอนบนอนัตนาคราช ลักษมีบดี ผู้เป็นสามีของพระลักษมี วิษว์บวร ผู้คุ้มครองโลก สวยภู เกิดเอง เกศวะ มีผมอันงาม กิรีติน ผู้ใส่มงกุฎ พระวิษณุ พระนารายณ์ ทรงประทับบนสวรรค์ เรียก ไวกูณฐ์ พาหนะ คือครุฑ พระวรกายสีนิล ฉลองดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎ อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักร ตรี คทา บ้างก็กล่าวไว้ว่าทรงถือ ดอกบัว ลูกศร ดอกไม้ หรือเชือกบ่วงบาศ หรือสายฟ้า อาวุธประจำที่ใช้ คือ สังข์ จักร คทา ธนู และพระขรรค์
การบูชาพระนารายณ์
แต่โบราณ นิยมบวงสรวงบูชา ขอพรให้มีความร่มเย็นเป็นสุข มีความสำเร็จในการศึกษาวิชาการต่างๆ รวมทั้ง เมื่อกาลเกิดเหตุการณ์อาถรรพณ์เป็นอัปมงคล จึงทำการบูชาพระนารายณ์ เพื่อแก้เคล็ด ลบล้างสิ่งอัปมงคลนั้น เพื่อเสริม สร้างศิริมงคล จะต้องจัดทำพิธีบูชาภายใน 10 วัน นับจากเกิดเหตุนั้นๆ
โดยทั่วไปจะบูชาพระนารายณ์ในเดือนอ้ายของทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำ ถึง 5 ค่ำ
ส่วนเทศกาลเฉลิมฉลองจะอยู่ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน หรือปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือน เมษายน
เครื่องบวงสรวงบูชา
กระทงใบตองใส่ข้าวตอก ดอกไม้ อาหารคาว 2-3 อย่าง ขนมหวาน 5 อย่าง ผลไม้ 3 อย่าง (กล้วย มะพร้าวอ่อน อ้อย) นมสด เนย ใบกะเพรา เมล็ดข้าว เมล็ดถั่วเขียว ถั่วแดง ตะเกรียงน้ำมันมะพร้าว เครื่องหอม ธงผืนเล็กสีเขียว 7 ผืน ผ้าแพร 3 ผืน (สีเขียว แดง เหลือง) ตุ๊กตาปั้น (ปูน หรือไม้แกะสลักเล็กๆ) รูปม้า ช้าง วัว ควาย
คำบูชาพระวิษณุ (นารายณ์)
โอม…นะโม นารายะ นามะ ภะวันตุเม ทุติยัมปิ…นะโม นารายะ นามะ ภะวันตุเม ตะติยัมปิ…นะโม นารายะ นามะ ภะวันตุเม ฯ
บทอธิฐานขอพร พระนารายณ์
โอม…ศานตาการัม ภุชะคะศะยะนัม ปัทมะนาภัมสุ ุเรศัม วิศวาธารัม คะคะนะสะทฤศัม เมฆะวรรณัม ศุภางคัม ลักษมีกานตัม กะมะละนะยะนัม โยคิภีร์ ธยานะคัมมยัม วันเทวิษณุมอภะวะภะยะหะรัม สรรวะโลกัยกานาถัม ฯ
บทอธิฐานขอพร พระวิษณุ
โอม…สะศางขะจักรัม สะกิริฏะ กุณตะลัม สปิตะวัสตรัม สะระสีรูเหกษณัม สะหาระวักษะสถะละ เกาสตุภะ ศริยัม นะมามิ วิษณุม ศิระสา จตุรภุซัม ฯ
บทอธิฐานขอพร พระราม
โอม…นีลามพุชะ ศยามะละ โกมะลางคัมสีตา สมา โรปิตะ วามะภาคัม ปาเณา มหาสายะกะ จารุ จาปัม นะมามิ รามัม ระฆุวัมศะ นาถัม ฯ
พระลักษมี
พระศรีมหาลักษมี
พระศรีมหาลักษมี

พระแม่ลักษมีเทพธิดาแห่งความมั่งคั่ง และเทพีแห่งความดีงาม
กล่าว ถึงการกำเนิดของพระนางลักษมี มีการค้นพบหลักฐานทั้งจากตำนาน เรื่องเล่า และคัมภีร์ต่างๆ ที่พบมีการกล่าวไว้ต่างกันออกไป ดังนี้ ตำนานนิยายเก่าแก่ของอินเดีย ได้กล่าวถึงช่วงสมัยพระเวทไว้ว่าพระนางลักษมีได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ โดยพระนางเป็นที่ที่มีฐานะร่ำรวยในด้านทรัพย์สินอย่างมากมาย จนเกิดการแย่งชิงพระนางด้วยหวังในทรัพย์สินเหล่านั้น จนกาลต่อมาพระนางลักษมีจึงได้เป็นมเหสีของพระนารายณ์ในที่สุด ส่วนคัมภีร์รามายณะ กล่าวถึงตอนที่เหล่าเทวดาทั้งหลายทำพิธีกวนเกษียรสมุทร เพื่อทำน้ำอมฤต ซึ่งการกวนเกษียรสมุทรนี้ได้บังเกิดสิ่งวิเศษ ๑๔ อย่าง อาทิ น้ำอมฤต นางอัปสร เทวดา สิ่งของวิเศษต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์เทวะ นางอัปสรที่บังเกิดขึ้นในครั้งนี้ได้มีพระนางลักษมี ถือกำเนิดขึ้นมาด้วย เมื่อครั้งพระนางลักษมีได้ปรากฏกายขึ้น ประกอบด้วยขณะนั้นพระนารายณ์ ทรงอวตารเป็นเต่าใหญ่เพื่อรองรับไม่ให้โลกไว้ ได้แลเห็นพระนางลักษมีจึงเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นด้วยอำนาจฤทธิ์เดชที่มีจึงบันดาลให้พระนางมาเป็นชายาของพระองค์ใน ด้านคัมภีร์วิษณุปุราณะ กล่าวว่าพระนางลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางชยาติ ตำนานอื่น ๆ กล่าวไว้ดังนี้ พระนางลักษมีเกิดจากดอกบัวหลวง ต่อมาได้เข้าเฝ้าพระนารายณ์โดยได้ถือดอกบัวหลวง
ไปเข้าเฝ้าด้วย พระนารายณ์เกิดพึงพอพระทัยในพระนางยิ่งนักจึงได้อภิเษกเป็นพระชายาในที่สุด พระนามที่ได้เรียกขานพระนางลักษมี มีมากมาย และมีการกล่าวถึงเรื่องการอวตารของพระนารายณ์ไว้ว่า พระนางลักษมีผู้เป็นชายา จะอวตารลงมาทุกปางที่พระนารายณ์ได้อวตารลงมาด้วยเสมอ
ดังจะกล่าวบาง ส่วนไว้ดังนี้ พระนามเรียกขาน อาทิ ชลธิชา ผู้เกิดแต่น้ำ (เหตุจากคัมภีร์รามายณะ) ปัทมา ผู้มีดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ ภควดี หญิงงามทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาไพเราะ เป็นผู้นำแห่งความเจริญทุกประการ การอวตารลงมาของพระนางลักษมี เมื่อพระนารายณ์อวตาร ลงเป็นพระราม พระนางลักษมี ทรงอวตารเป็นนางสีดา พระนารายณ์อวตารเป็นพระกฤษณะ
พระนางลักษมี อวตารเป็นนางรุกมิณี พระนารายณ์อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย (ปางวามนาวตาร) พระนางลักษมี อวตารเป็นนางกมลา พระนารายณ์อวตารเป็นพราหมณ์ถือขวาน นามปรศุราม (ปางปรศุรามาวตาร) พระนางลักษมี อวตารเป็นนางธรณี รูปเคารพทางศิลปะ ที่ค้นพบจนถึงปัจจุบัน พระนางลักษมี ประทับยืนบนดอกบัว และถือดอกบัว อาภรณ์ดั่งกษัตริย์
สวมมงกุฏ หรือรูปเคารพที่พระนางประทับนั่งบนดอกบัว พระวรกายสีทอง ทรงถือดอกบัวไว้ บางรูปเคารพที่พบพระนางลักษมี มี ๘ กร ทรงถือดอกบัว คันธนู คทา ลูกธนู ลูกล้อ หอยสังข์ ลูกบดไม้ และประตัก ส่วนรูปเคารพที่พระนางลักษมี ๔ กรนั้น พระวรกายสีทอง ทรงเครื่องประดับ พระกร ถือ ลูกล้อ หอยสังข์ ดอกบัว และคทา รูปเคารพที่พบทั้ง ๘ กร และ ๔ กร ที่ปรากฏให้เห็นมี ทั้งพระนางลักษมี ประทับยืน และนั่งบนดอกบัว รูปเคารพที่มี ๒ กร ประทับยืนบนดอกบัว ถือ ดอกบัว และหอยสังข์ไว้ รูปเคารพที่พบในศาสนสถานของลัทธิไวษณพนิกาย มีลักษณะของพระนางลักษมี
ประทับนั่งบนตักซ้ายของพระนารายณ์ พระบาทซ้ายงอเข้าหาพระบาทขวาตกลงล่าง พระนางมี ๔ กร ถือ สังข์ จักร ตรี คทา (บางรูปเคารพพระนางลักษมี มี ๒ กร ถือ ดอกบัวหลวง ทั้ง ๒ กร) รูปเคารพพระนางลักษมีนั่งเคียงข้างพระนารายณ์ ประทับบนขนดของพระยานาควาสุกรี พระองค์ทรงถือดอกบัว รูปเคารพบางรูปพระนางทรงนั่งตักพระนารายณ์ ทรงถือดอกบัวไว้ พระนารายณ์ประทับบนพระยาครุฑ รูปเคารพอื่น ๆ ที่ได้กล่าวถึงและในส่วนที่ไม่ได้กล่าวไว้ คือสิ่งที่ชาวอินเดียในแต่ละยุคสมัยได้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากความพอใจของพวกตน บางก็เกิดจากแนวคิดแรงบันดาลใจของช่างผู้สร้างสรรค์ ความนิยมของผู้คนในแต่ช่วงสมัย ซึ่งได้ปรากฏลักษณะต่างกันไป และมีความหลากหลายมากนัก
พระแม่ลักษมี คือเทวีแห่งความงดงาม ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักประทานความสำเร็จในการประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ เงินทอง สมบัติ แก่ผู้หมั่นบูชาพระองค์และประกอบความดีอยู่เป็นนิจ
พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (ลูกสาวแห่งทะเลน้ำนม)
ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย
พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว
อนึ่งพระแม่ลักษมีมักจะอวตารไปเป็นชายาของพระวิษณุ (พระนารายณ์ผู้ดูแลรักษาโลก) อยู่ทุกครั้งไป เช่น พระวิษณุอวตารเป็น พระราม พระแม่ลักษมีก็ตามไปเกิดเป็น พระนางสีดา
ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี
ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น
คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก
อนุมานอยู่เรื่องหนึ่งที่น่ามีเค้ามาจากพระแม่ลักษมี ตามคติอินเดียก็คือ พระแม่โพสพ เทวีแห่งพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ซึ่งคติอินเดีย นั้นเป็นอวตารของพระแม่ลักษมี ในคติลักษมีแปดปางที่ชื่อ ปางธัญญลักษมี มีเทวลักษณะ 4–6 พระกร ขึ้นกับจิตกรจะวาดออกมา โดยพระหัตถ์ทั้งสองด้านจะทรงรวงข้าวและธัญญพืช
ส่วนแม่โพสพไทยนั้น เรานั้นสันนิษฐานมาจากสองคติ คือ ทางหนึ่งมาจากธัญญลักษมีที่กล่าวมา อีกทางหนึ่งว่า เป็นการแบ่งภาคจากพระพรหม มาเป็นเทพเจ้าแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยการแบ่งภาคนี้หากเป็นเทพบุรุษ ก็เรียกว่า พระไพรศรพณ์ เป็นเทพบุตรรูปงามถือพระขรรค์ ทรงหงส์เป็นสัตว์เทพพาหนะ ส่วน ภาคเทวนารี เป็น พระแม่โพสพ ซึ่งจะเป็นรูปนางงามถือรวงข้าวซึ่งคติอย่างหลังก็น่า จะมาจาก ธัญญลักษมี ของอินเดียเหมือนกัน เพราะตอนที่พระแม่ลักษมีผุดขึ้นตอนกวนเกษียรสมุทร มีพระพรหมเสด็จมารับเป็นเทพผู้ใหญ่ของพระแม่ลักษมี เพื่อเลือกคู่ ซึ่งก็มีการนำเอาพระพรหมมาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้การกำเนิดพระแม่ลักษมีนั้น ก็เป็นเรื่องราวที่เกิดจารีตประเพณีแต่งงานแบบหนึ่งด้วย กล่าวคือความงามที่เลิศกว่าเทวนารีใดก็มีเทพเจ้าและอสูรมากมายที่หมายปอง จนองค์พระพรหมต้องเสด็จมารับและให้นางเลือกคู่ ครองเองจนพระนางเลือกพระวิษณุเป็นเทพสวามี ซึ่งตรงนี้เองเป็นที่มาของพิธีวิวาห์ แบบหนึ่งที่หญิงต้องไปสู่ขอผู้ชายจากผู้ใหญ่ฝ่ายชาย หรือเป็นผู้เลือกฝ่ายชายเป็นสามีเองที่เรียกกันว่า สยุมพร นั่นเอง
ประเพณีนี้ยังคงพบในบางจังหวัดของประเทศไทย อย่างจังหวัดแพร่แถบอำเภอสอง ก็ยังมีประเพณีทำนองนี้ให้พบเห็นอยู่ส่วนจะมาจากคติอินเดียแบบสยุมพรนี้ หรือบังเอิญเป็น ประเพณีพ้อง ก็คงไม่ชี้ชัดไปจะขอเล่าเอาไว้เป็นเนื้อความประกอบเรื่องนี้เท่านั้น
พระแม่ลักษมีเทวีทรงเป็นเทวีแห่งโชคลาภ ที่กล่าวกันว่าทรงอำนาจค้ำจุนอย่างวิเศษ!! มีบันทึกอย่างจารึก Junagdh Inscription ของ Skandagupta กษัตริย์รุ่นปลายของราชวงศ์คุปตะได้กล่าวว่า ด้วยอำนาจแห่งเทวีลักษมีนี่เอง ที่ทรงส่งเสริมอำนาจเทพสวามีคือ พระวิษณุ จนได้ชื่อว่า เทพเจ้าผู้บริหารโลก การบูชาพระแม่ลักษมี จึงมีแพร่หลายทั่วไปในอินเดีย เพราะเชื่อว่าผู้ที่สามารถบูชาจนเป็นที่พอพระทัย เทวีลักษมีจะทรงประทานศิริและความมั่งคั่งให้อย่างน่าอัศจรรย์ใจทีเดียว
ส่วนในประเทศไทยนอกจากคติการบูชาเจ้าแม่โพสพ แล้วก็มีการบูชาพระแม่ลักษมีอยู่บ้าง สำหรับผู้ที่เคารพบูชาตามจารีตฮินดู
สำหรับวันสำคัญ ก็มีหลายวันที่บูชาพระแม่ลักษมีในโอกาสต่างๆกัน อย่างวัน ขึ้น 9 ค่ำ เดือนอัษฐะ (มิถุนายน-กรกฏาคม) เป็นการบูชา พระนางสีดา (ลักษมีอวตาร) ร่วมกับ พระราม และ หนุมาน เรียกว่า วันสีดา นวะมี
หรืออย่างวันแรม 14 ค่ำ เดือนการติก (ตุลาคม-พฤศจิกายน) เป็นวัน พิธีแห่งแสงสว่าง เรียกว่า วันดีปาวลี เชื่อว่าพระแม่ลักษมีเทวีจะโปรดประทานความร่ำรวยแก่ผู้บูชาพระนางและยังมีวันอื่นๆ อีกที่กำหนดให้บูชาพระแม่ลักษมีเทวีในโอกาสที่แตกต่างกันออกไป แต่จุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การขอรับพรอันศักดิ์สิทธิ์จากพระนาง ในคุณสมบัติที่พระนางมีอย่างเปี่ยมล้น คือ ศิริ-ความดีงามและความมั่งคั่งร่ำรวยนั่นเอง..
เนื่องด้วยพระแม่ลักษมีทรงเป็นเทวีแห่งความงาม ช่างอินเดียจึงมักทำรูปพระนางให้เป็นหญิงที่งดงามที่สุดตามคติอินเดีย ตามตำรามักกล่าวกันว่า ทรงมีพระวรกายเป็นสีทอง ทรงพัสตราภรณ์สีเหลือง แดง หรือ ชมพู ประทับนั่งหรือยืนบนดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพระนาง บางครั้งก็ประทับบนหลังช้าง ทรงมี 4 พระกรเมื่ออยู่โดยลำพัง แต่ถ้าประทับร่วมกับพระวิษณุแล้ว ก็ทรงมี ๒ พระกรบ้าง 4 พระกรบ้าง รัศมีแห่งองค์พระแม่ลักษมีนั้น กล่าวกันว่าสุกปลั่งเป็นประกายอย่างสายฟ้าแลบ กลิ่นหอมจากพระวรกายนั้นประหนึ่งกลิ่นดอกบัว และหอมจรุงไปไกลถึงหลายร้อยโยชน์
สิ่งที่พระลักษมีทรงถืออยู่ที่เห็นกันบ่อยที่สุด คือ ดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และมักจะถือไว้ 2 ดอก หรือไม่ก็ทรงถือ หม้อน้ำ พระหัตถ์หนึ่ง อีก พระหัตถ์หนึ่งหงายลงสู่พื้น มีเหรียญทองโปรยปรายลงจากใจกลางพระหัตถ์นั้น หรือไม่ก็เทออกมาจากในหม้อ เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งโชคลาภและความร่ำรวย บางครั้งก็จะทรงอาวุธบ้าง เช่น จักร อันบ่งความหมายถึงองค์นารายณ์ (พระวิษณุเทพ) นั่นเอง
ในไวษณพนิกาย (ฝ่ายนับถือพระวิษณุเป็นใหญ่) ก็มีตำรากล่าวไว้ว่า เดิมพระวิษณุทรงมีพระชายาถึง 3 พระองค์ คือพระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี และพระแม่คงคา แต่ทั้งสามพระองค์ไม่ยอมลงให้แก่กัน พระวิษณุเทพจึงทรงแก้ปัญหา โดยยกพระสรัสวดีให้พระพรหม และยกพระคงคาให้พระศิวะ ที่แต่งไว้เช่นนี้ ไม่มีจุดประสงค์อย่างอื่น นอกจากมุ่งจะสอนว่าการมีภรรยามากนั้นไม่ดี และผลพลอยได้ก็คือ การอธิบายเช่นนี้สามารถข่มลัทธิไศวะนิกาย และฝ่ายที่บูชาพระพรหม โดยแสดงให้เห็นว่า พระวิษณุเป็นเจ้าทรงเป็นใหญ่ที่สุด เพราะผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะยกทรัพย์สมบัติให้ผู้น้อยได้ แต่เรื่องเช่นนี้ ปัจจุบันไม่ถือเป็นเรื่องจริงจังกันแล้วในประเทศอินเดีย
พาหนะแห่งองค์พระแม่ลักษมีมี คือ ช้าง คนอินเดียถือว่า ช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาธิการ พลังอำนาจ และความมั่งคั่ง ดังกำเนิดพระลักษมีที่มีช้างโปรยน้ำถวายนั่นเอง นอกจากช้างแล้ว ชาวอินเดียทั้งหลายก็นับถือ เบี้ยจั่น ว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระแม่ลักษมีมาแต่โบราณ ซึ่งจะเก่าแก่เท่าใดก็ไม่ทราบได้ แต่อย่างน้อยต้องเก่าถึงสมัยที่ยังใช้เบี้ยจั่นแทนเงินตรากันอยู่ เพราะว่าพระนางทรงเป็นเทวีแห่งโภคทรัพย์ ความร่ำรวย จึงย่อมทรงเกี่ยวข้องกับเงินตรา ซึ่งแทนด้วยเบี้ยจั่นนั้น
การที่พระแม่ลักษมีทรงเกี่ยวข้องกับความร่ำรวย ก็เพราะพระนางทรงเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และความอุดมสมบูรณ์นั้น ถ้าจะมองอีกแง่หนึ่ง ก็หมายถึง พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้อย่างมากมาย อีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรในอินเดียจึงบูชาพระแม่ลักษมีในภาคที่เป็น พระแม่โพสพ ดังมีพระนามในการนี้โดยเฉพาะว่า พระธัญญลักษมี (Dhanya Lakshmi)
มีตำนานเกี่ยวกับพระธัญญลักษมีที่เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเกิดทุกขภัยแห้งแล้งกันดารขึ้นในโลก เวลานั้นแสงอาทิตย์ร้อนแรงจนผู้คนออกจากบ้านไม่ได้ เมื่อถึงยามค่ำคืนบรรดาเกษตรกรจึงพากันบูชาพระวิษณุ หากแต่เวลานั้นพระวิษณุบรรทมหลับอยู่ ไม่ได้ยินเสียงวิงวอนของผู้คนในโลก
แต่พระลักษมีทรงได้ยิน และเนื่องจากไม่กล้าปลุกบรรทม พระแม่ลักษมีจึงแบ่งภาคมาเป็น พระแม่โพสพ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์โลก โดยทรงนำมหาสังข์ใส้น้ำมาโปรยปรายเป็นฝน และเนรมิตข้าวในนาให้เจริญงอกงาม เป็นที่ปลาบปลื้มยินดีแก่ประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก จนเหลือที่จะพรรณนาได้
การบูชาพระแม่โพสพที่เราเคยได้เรียนได้อ่านกันมา ก็คือการบูชาพระแม่ลักษมีในปางนี้นั่นเอง
คาถาบูชาพระแม่โพสพ
โอม โพสะวะโภชะนัง อุตตะมะ ลาภัง มัยหัง สัพพะสิทธิ หิตัง โหตุ
คาถาบูชาพระแม่ลักษมี
ก่อนการสวดบูชาต่อพระแม่ลักษมี
ต้องสวดมนต์ต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอ
บทสวดมนต์พระแม่ลักษมีนั้นมีหลายบท เลือกสวดได้ดังต่อไปนี้
– โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา
– โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะมะฮา
– โอม มหาลักษมี ยะนะมะฮา
– โอม พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มะหาลาโภ
– โอม เจ ลักษมี มหามาตา / มะนุสสา อัญชะลี ยะ ปูจา
โอมมหาราณี รีตู ปรารัม / กรุณา ตรี โลคา มาตินัม
อดัม อาสสานุม ปัทมินนี / นะโม ตุสเต เจ โฮมา มาตา กี
เจ โฮมา ลักษมี มา เจ โฮ มา / ลักษมี มา มหา ลักษมี มาตากี
โอม นมัสสักกา โอม มหาลักษมีเทวี ศักติ โอม
– โอม ชยะตี ชคะนิธิวะตี ภาคยะวตี
ธะนะวันตี ชยะ ชลละชะ วิลาสินี
คตะมหานะ วิจรัญตี ชยะ ศรี กะมะเล
หะริปรีเย ชลละนิธิ ตนะเย
อัมพา วิณาวัตตะ สุนทระทาสา อิกะมานะ
เตระหินะ อวะลัมพา ฯ
– โอม นะมัสศิโรเม เตาเลหะมาละ
สะลามะมาเรกุลา อาตะคัจฉะ มาลายะเฮ
ดุนนะยะโฮ กะโฮนะฮีนะ
ตุนนะฮี ยะวานะระโฮ ดูบัมบารา อาดัมบารา
นะฮีนะ นะโฮนะ วายะฮี
ลักษมีเดาเลาะหะมาล อาคัจชะมาฮาล อะสุราฮาล
ทะชัชชะมาฮาล ทะชัชชะมาฮาล
ทะชัชชะมาฮาละ ปูชิตตะวา
– โอม ศานตาการัม ภูชะคะสะยะนัม
ปัทมานาภัม สุเรศัม วิศวาธารัม
คะคะนะสะทฤศัม เมฆะวรรณัมศุภางคัม
ลักษมีการตัมกะมะกะละนะยะนัม
โยคิภีระธยานะคัมมะยัม
วันเทวิษณุ ภะวะภะยะหะรัม สรรวะโลกัยกานาถัม
โอม มหาลักษะ มะไย นะโม นะมะฮา
โอม วิษณุ ปริยาไย นะโม นะมะฮา
โอม ธานา ประจาไย นะโม นะมะฮา
โอม วิศวา จานันไย นะโม นะมะฮา
พระพรหม
พระพรหม
พระพรหม

พระพรหมมหาเทพแห่งความเมตตาและลิขิตชะตามนุษย์
ในอินเดียสมัยโบราณ พระพรหมเป็นเทพผู้สร้างโลก ได้รับการยกย่องโดยพวกพราหมณ์ ให้มีฐานะเท่าเทียมกับพระวิษณุ (ผู้คุ้มครองโลก) และพระศิวะ (ผู้ทำลายโลก) วิวัฒนาการทางความเชื่อทางศาสนา และศิลปกรรมของอินเดียมีการ เปลี่ยนแปลง ตามแคว้นต่าง ๆ เสมอรวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามประเพณีความเชื่อในช่วงสมัยนั้น ๆ โดยมีการนับถือตามนิกายต่าง ๆ ของความ เชื่อที่มีอยู่นั้น เช่น นิกายไศวะ หรือไศวะนิกาย และไวษณพนิกาย หรือไวษณวนิกาย ทั้ง ๒ นิกายให้ความเคารพนับถือเทพ คือพระศิวะ และ พระวิษณุเป็นพิเศษ จึงลดความศรัทธาความเชื่อถือพระพรหมลง และเมื่อเวลาผ่านถึง ค.ศ. ที่ ๑๐ ชาวฮินดูจึงหันมาให้ความเคารพ นับถือพระพรหมจากที่นิกายไศวะ และไวษณพนิกาย ซึ่งมีการแข่งขันกันทางด้านความเชื่ออยู่ พระพรหมจึงกลายเป็นเทพองค์สำคัญขึ้นมาใหม่ โดยมีการสร้างเทวาลัย และรูปปั้นไว้เป็นจำนวนมาก พระพรหมได้รับการนับถือบูชาในฐานะที่พระองค์เป็นผู้สร้างของทุกสิ่งทุกอย่าง ให้เกิดขึ้นบนโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ให้ที่สำคัญ และเป็นผู้กำหนดโชคชะตาของมนุษย์ พระนาม ที่เรียกขานกันมีมากมายนอกเหนือจากพระพรหม หรือ พระพรหมธาดา เป็นต้นว่า ราชคุณ หมายถึง ความมี กิเลสและความปรารถนา และมูลเหตุของการสร้างโลกทั้งปวง สวายัมภู หมายถึง ผู้เกิดเอง กมลสาส์น และปัทมสาส์น หมายถึง ผู้นั่งบนดอกบัว ซึ่งเกิดมาจากสะดือของพระวิษณุ คัมภีร์ฤคเวท ปรากฏพระนาม ปชาบดี คัมภีร์รามายณะ ปรากฏพระนามอื่นๆ คือ ปรเมศวร วิธิ-เวธาส อทิกวี สนัต ชาตริวิชาตริ ปิตามหะ ทรุหิณ-สราษฎริ โลเกศ ลักษณะทางศิลป์ รูปเคารพของพระพรหมที่พบในปัจจุบันมีรูปเคารพ ๔ ปาง ๕ พระนาม ซึ่งมีลักษณะทางศิลป ดังนี้ ปางประชาบดี พระพรหม พระวรกายสีขาว สวมอาภรณ์หนังกวางสีดำพาดบ่า มี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือช้อน แจกัน และการทำปางประทานพร ด้านขวาของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสรัสวดี ด้านซ้ายของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสาวิตรียืนประทับอยู่ พาหนะคือ หงส์ ปางโลกบาล พระพรหมมี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือลูกประคำ หนังสือ ดอกบัว และแจกัน ด้านข้างมีนางสาวิตรี (๔ พักตร์) ประทับยืนด้วย ปางวิศวกรรม พระพรหมมี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือ ช้อน หนังสือ แจกัน และลูกประคำ ปางกามลักษณะ ปางปิตมหา พระพรหมมี ๔ พักตร์ พระเกศามุ่นขมวด มี ๔ กร ถือ หนังสือ แจกัน หม้อ และช้อน ในสมัยพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดแล้วได้ปรากฏภาพสลักในรูปของพระพรหมกำลัง เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพรหมทรงอาภรณ์ดั่งพราหมณ์ พระกรถือหม้อน้ำข้างหนึ่ง
กำเนิดพระพรหม
จากคัมภีร์และตำนานมากมายที่กล่าวถึงการกำเนิดของพระพรหม กล่าวไว้ อาทิ คัมภีร์วารหปุราณะ และมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวไว้ว่า พระพรหมเกิดจากดอกบัวที่พุดขึ้นจากสะดือของพระวิษณุ ที่บรรทมหลับอยู่บนหลังพระยาอนันตนาคราชที่เกษียรสมุทร คัมภีร์ปัทมปุราณะ กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพระวิษณุต้องการสร้างโลก จึงแบ่งภาคออกเป็น ๓ ภาค โดยพระพรหม เกิดจากสีข้างเบื้องขวา พระวิษณุ (พระองค์) เกิดจากสีข้างเบื้องซ้าย พระศิวะ เกิดจากบั้นกลางพระองค์คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ กล่าวไว้ว่าในครั้งเมื่อโลกยังไม่ปรากฏสิ่งใดๆ (ว่างเปล่า) พระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) ประสงค์จะสร้างทุกสิ่งจึงสร้างน้ำขึ้นมาก่อน แล้วนำพืชโปรยลงน้ำ เวลาผ่านไปพืชนั้นกลายเป็นไข่ทองและกำเนิดพระพรหมปรากฏขึ้น นามว่า หิรัณครรภ์ หลังจากนั้นพระพรหมจึงแบ่งร่างเป็นชาย-หญิง เพื่อสร้างโลกและมนุษย์ต่อมา ช่วงนี้ขอเล่าถึงตำนานพระเศียรของเทพเจ้าผู้สร้างโลกนามพระพรหม บางส่วนของตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อแรกพระพรหมทรงมี ๕ เศียร เรื่องมีอยู่ว่าพระองค์ทรงหลงรักและหวงแหนพระมเหสี (พระมเหสีองค์มีหลายพระนาม อาทิ สรัสวดี สาวิตรี พราหมณี) เพื่อคุ้มครองพระมเหสีองค์นี้ด้วยว่าไม่ว่าจะเสด็จที่ใดก็ตาม พระองค์จะทรงใช้ตาที่เศียรทั้ง ๕ เศียรของ พระองค์เฝ้าติดตามไม่ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นก็ตามจะได้ช่วยทันทุกเวลาต่อมา เศียร ๑ ใน ๕ เศียรเกิดพูดจากดูหมิ่นพระแม่ปารพตี มเหสีของพระศิวะเมื่อพระองค์ทราบเรื่องจึงบันดาลโทสะจนเกิดการต่อสู้กัน ระหว่าง พระพรหมกับพระศิวะ เมื่อเวลาต่อมาพระพรหมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ถูกพระศิวะตัดเศียรไปหนึ่งเศียร จึงเป็นเหตุให้พระพรหม เหลือเพียง ๔ เศียร นับแต่นั้นเป็นต้นมา บางตำนานกล่าวไว้ว่า พระพรหมทรงถูกพระศิวะใช้ฤทธิ์เพ่งตาที่ ๓ ทำให้เกิดไฟเผาผลาญเศียรที่ ๕ ของพระพรหมจนมอด ไหม้ เพราะกล่าวคำหมิ่นพระศิวะนั่นเอง
ตำนานการเกิดของมนุษย์
ตำนานกล่าวว่าพระพรหมสร้างมนุษย์ จากอวัยวะของพระองค์ ซึ่งได้เกิดเป็นวรรณะต่างๆ ดังนี้
วรรณะพราหมณ์ เกิดจากเศียรของพระองค์
วรรณะกษัตริย์ เกิดจากบ่าของพระองค์
วรรณะแพศย์ เกิดจากส่วนท้องของพระองค์
วรรณะศูทร เกิดจากเท้าของพระองค์
บางตำรากล่าวถึงเริ่มแรกทรงเนรมิตมนุษย์มีขาข้างเดียว แต่ก็เห็นว่าเดินไม่สะดวก จึงสร้างมนุษย์มี ๓ ขา ดูเหมือนจะไม่พอพระทัยเพราะว่าเกะกะเกินไปไม่สวยงาม จึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งให้มี ๒ ขา ที่ปรากฏจนทุกวันนี้
คาถาบูชาพระพรหม
โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัมทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ
คาถาบูชาพระพรหม
คาถาบูชาพระพรหม แบบย่อ
โอม อหัม ปรัหมา อัสมิ
พระสรัสวตี เทวีผู้ทรงปัญญา และเป็นพระมารดา แห่งศิลปะวิทยาการ
พระสรัสวตี
พระสรัสวตี

ว่ากันว่า มหาเทวีเทพมารดาแห่งโลกทั้งสามพระองค์ที่เรียกกันว่า “ตรีศักติ” นั้น
ล้วนมีความงามเป็นที่สุดในโลกทั้งสามพระองค์ที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังเปรียบได้ดังนี้คือ
พระสรัสวดี ท่านงามอย่างสงบนิ่มนวลอ่อนโยนดุจพราหมณีนักบวช
พระลักษมี ท่านงามเฉิดฉาย ดุจนางงามผู้เป็นที่รักของคนทั่วไป
พระอุมา ท่านงามสง่าน่าเกรงขามดังราชินีผู้ทรงอำนาจ
ซึ่งปราชญ์ทั้งหลายต่างยกย่องความงามทั้งสามประการนั้นเป็นต้นแบบแก่สตรีแห่งโลก
ในคัมภีร์มัสยาปุราณะ กล่าวไว้ถึงกำเนิดพระสรัสวดีว่า
พระพรหมธาดาเป็นผู้สร้างพระนางขึ้น (เปรียบได้ว่าพระนางเป็นเสมือนพระธิดาของพระองค์)
กาลต่อมาพระพรหมท่านเกิดหลงรักในธิดาองค์นี้ จึงได้ทำการอภิเษกกับธิดาของพระองค์เอง
ในด้านของพระนางสุรัสวดี เมื่อแรกที่กำเนิดมาได้รับประทานพรจากสวรรค์
ไว้ว่าให้เคลื่อนไหวไปได้ดังคิด ไม่ว่าจะไปทิศใดก็ตาม
ด้วยเหตุนี้เองพระพรหมจึงต้องเฝ้าติดตามดูแลคุ้มครองพระนางให้ได้เสมอ
จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงมีพระพักตร์ ๕ พักตร์เพื่อดูแลนางทุกหนแห่ง
คัมภีร์วิษณุโบราณบันทึกไว้ว่าเมื่อพระพรหมเนรมิตพระนางสรัสวดีขึ้นมาแล้ว
ได้ประทานคัมภีร์ด้านอักษรเทวะนาครี และอักษรภาษาสันสกฤตให้แก่พระนาง
พระนางจึงได้ศึกษาคัมภีร์จนแตกฉาน เหนือกว่าผู้ใดบนสรวงสวรรค์
กล่าวกันว่าพระนางเป็นเจ้าแม่หรือเทพีแห่งอักษาศาสตร์ด้วย
พระนางเป็นผู้ให้กำเนิดอักษรเทวะนาครี ซึ่งเป็นตัวอักษร (เขียน) ของอักษรภาษาสันสกฤต
หรือภาษาอินดี ในอินเดียปัจจุบัน
บางตำนานกล่าวไว้ว่าพระนางสรัสวดี เป็นเทพธิดาแห่งน้ำ (ในอินเดียมีแม่น้ำชื่อสรัสวดี)
ซึ่งหลักฐานจากหนังสือมหาภารตะกล่าวว่าพระนางเป็นผู้ให้กำเนิดน้ำอันบริสุทธิ์
แก่มวลมนุษย์สัตว์และพื้นดิน
อีกตำนานที่น่าจะมาจากผู้สาวกของพระวิษณุได้กล่าวว่า …
พระนางสรัสวดีเป็นมเหสีของพระวิษณุ เช่นเดียวกับพระแม่ลักษมี และพระคงคา
แต่ต่อมาเทพธิดาทั้ง ๓ องค์เกิดความขัดแย้งกัน
พระวิษณุจึงประทานพระแม่คงคงให้เป็นชายาของพระศิวะ
ส่วนพระนางสรัสวดีทรงประทานให้เป็นชายาของพระพรหม
และทรงประทานพระลักษมีให้เป็นชายาของพระวิษณุศานาพุทธ นิกายมหายาน
เกิดช่วงราวศตวรรษต้น ๆ ของคริสต์ศักราช มีเรื่องราวของพระนางสรัสวดี
กล่าวไว้ว่าผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมหายาน ให้ความเคารพบูชาพระนางว่า
เป็นพระมเหสีของพระโพธิสัตว์มัญชุศรี ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสติปัญญาและความฉลาด
พระนามของพระสรัสวดีในพุทธศาสนาทรงพระนามว่า เทพธิดาตารา …
ลักษณะทางศิลป รูปเคารพของพระนางสรัสวดี ทรงมีพระวรกายขาว
ประทับนั่งบนดอกบัว พระบาทห้อยลงเบื้องล่างข้างหนึ่ง พระกรถือพิณ
ทรงพาหนะเป็นนกยูง หรือหงส์
ในอาณาจักรขอมนั้น นับถือองค์พระสรัสวดียิ่งนัก มีการสร้างเทวาลัยถวายแก่พระองค์ท่าน
ที่ปราสาทตังกรัง (พุทธศตวรรษที่ ๑๓)
ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ก็มีการจารึกเรื่องราวการสร้างเทวาลัยถวายพระองค์
และจารึกที่สด๊กป๊กทมก็ยกย่องพระนางว่าเป็นเทพเจ้าที่สำคัญ
โดยจารึกขอมมักเรียกพระนางว่า “สรัสวดีภควดี”
อันหมายถึงพระนางทรงเป็นองค์แทนของพระพรหม (ศักติพรหม) ด้วย
ส่วนอีกพระนามหนึ่งที่พบว่าขอมนิยมใช้เรียกพระองค์คือ “วาคีศวรี”
นับว่าทรงเป็นมหาเทวีที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในอาณาจักรขอมทีเดียว
ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยฉบับแรกของไทยนั้นชื่อว่า “จินดามณี”
ก็มีที่มาจากภาษาทมิฬ (อินเดียตอนใต้) ที่เรียกพระสรัสวดีว่า “จินดา”
และมีหลักฐานยืนยันไว้ชัดเจนในภารตะวิทยาว่า
หนังสืออักษรศาสตร์ทุกเล่มในอินเดียจะถูกเรียกว่า “จินดามณี”
เพราะเกี่ยวพันกับเทวนารีพระองค์นี้ที่พระองค์ทรงเป็นเทพเเห่งครูหนังสือ
คำว่า … จินดามณี … ก็คงหมายถึง แก้วมณีแห่งนางจินดา คือ พระสรัสวดี
ซึ่งมีแบบแผนมาจากชาวทมิฬนั่นเอง
ขุนวิจิตมารตรานักปราชญ์ทางอักษรศาสตร์อาวุโสได้เคยสันนิษฐาน
คำว่า “ครูภัคอักษร” ที่เป็นสำนวนโบราณว่า ภัค มาจากภคะคือ ดี เลื่องลือ ศักดิ์สิทธิ์
และภควดีคือพระสรัสวดี คำว่าครูภักอักษรจึงหมายถึงพระนางด้วย
การนับถือว่าพระสรัสวดีเป็นเทวีบรมครูนั้นมีมาแต่สมัยอยุธยามีการกล่าวถึงในบทไหว้ครู
และในตอนหลังได้เพี้ยนเป็น “พระสัสดี” ไปบ้างเช่นกัน
ประเพณีการนับถือพระสรัสวดีว่าเป็นเทพบรมครูของศิลปะวิทยานี้มีมาแต่สมัยอธยุา
เรื่อยมาจนสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เปลี่ยนคตินี้ไป
โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงทรงนำคุณสมบัติทั้งมวลของพระองค์สรัสวดีมาไว้ที่พระคเณศ
ซึ่งเหตุดังกล่าวยังหามีผู้ใดเเสดงอรรถาธิบายได้ไม่
แต่อินเดียประเทศต้นเค้าเทวะวิทยาของไทยยังคงบูชาพระนางสรัสวดี
เป็นเทวีแห่งศิลปะวิทยาเสมอมาและต้องสวดบูชาพระองค์ก่อนทุกครั้งที่จะเล่าเรียนวิชาการใดใด
เชื่อว่าจะทำให้สำเร็จโดยจะมีเทศการบูชาพระองค์ในวันที่ ๕ เดือนมาฆะ
หรือวันขึ้น ๕ ค่ำเดือนสามของทุกปีเรียกว่า “วสันปัญจมี”
ส่วนพวกนับถือศาสนาเชนก็มีการนับถือเเละมีเทศการบูชาพระสรัสวดีเหมือนกัน
โดยนิกายเศวตอัมพรและนิกายทิฆัมพรแต่เป็นเทศกาลที่ไม่เอิกเกริกมากนัก
ในปัจจุบันการบูชาพระนางสรัสวดีในเมืองไทยได้มีการบูชาอย่างกว้างขวางขึ้น
ทั้งแวดวงนักวิชาการและผู้ประกอบการศิลปะทั้งปวง
ซึ่งในหมู่ผู้ที่บูชาพระนางต่างเชื่อมั่นว่าหากทำการสักการะพระองค์
อย่างถูกต้องแล้วก็มักได้ความสำเร็จรุ่งเรืองสมปรารถนาทุกคนไป
เทศกาลบูชาพระแม่สรัสวตีเทวี (วสันตปัญจมี) 
น่าจะประมาณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 เพราะเมื่อปีที่แล้ววันนี้แต่เป็นปี 2549ผู้ศรัทธาในองค์พระแม่สรัสวตีเทวี ร่วมพิธีบูชาได้ที่วัดเทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาช เสาชิงช้า กทม. (ใกล้วัดสุทัศน์ฯ) หรือหากว่า ไม่สามารถไปได้ก็ปฏิบัติบูชาที่บ้านได้ครับ
บทสวดบูชาพระแม่มหาเทวีสรัสวตี
โอม ศรี สรัสวตี เจ นะ มะ ฮา (3จบ)
บทขอพรพระแม่มหาเทวีสรัสวตี
โอม พระสรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญชะเร ภะวันตุเม ทุติยัมปิ พระสรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญชะเร ภะวันตุเม ตะติยัมปิ พระสรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญชะเร ภะวันตุเม
ขอพร ความรุ่งเรือง ความก้าวหน้า ความรอบรู้ในศิลปวิทยาการ ปัญญา และความสามารถ
ศรี สรัสวตี มนต์
โอม…หรีม แอม หรีม สรัสวัตตะแย นมัช
โอม..นะโม ภัคะวะตี สรัสวตี วามวาทินี พรหมาณี พรหมรูปะนี พฤทธิจะรัทธินี วิททะยา เทหิ เทหิ สะวาหา
โอม…หรีม แอม หูน นีลัสสรัสวะโต ผัฏ สะวาหา
สรัสวตี ศโลก
ยา กุนนะเทนนะทุตุษษา ระหารธะระยา ยา ศุภรวัสสัฃะ ตราวฤตา
ยา วีณาวรทัณระมัณดิตกะรา ยา ศเวตตะปัททะมา สะนา
ยา พรหมาจะยุตตะ ศังกรปะระภฤติ ภิระเทเวช สะดา วังทิตา
มา มาม ปาตตะ สรัสวตี ภัคคะวะตี นิชเศษะ ชาระยาปะหา
ปรารถนายาม มนต์ 
โอม…ภูช โอม…ภะวัช โอม…สะวัช โอม…มะหัช โอม…ชะนัช โอม…ตะปัช โอม…สัตตะยัม
โอม..ภุระภะวัช สะวัช ตัสสะิวิระต วัณยัม ภะระโค เทวัส สะยะ ธีมหิ โยนัช ประโจทะยาต
โอม…อาโปชะโยติระโส มฤตัม พรหม ถูระ ภุวะ สะวะุ
พระฤาษี
พระฤาษี
พระฤาษี

พระฤาษี เป็นคำเรียกขานของคนที่บำเพ็ญเพียรด้วยความอุตสาหะ เป็นความเชื่อของ คนว่าต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์บ้าง ก็ต้องการที่จะสร้างฤทธิ์ สร้างบารมี จึงเกิดมีลัทธิ มีการตั้งตัวเป็นอาจารย์สอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักการ ที่วางไว้ พระฤษี เป็นคำที่เรียกคนที่มีพลังจิตเด็ดเดี่ยว มุ่งปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จในอย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เช่น สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ มีวาจาสิทธิ์ และอีก มากมาย บางท่านก็เก่งเรื่องยาสมุนไพรเช่น ปู่ชีวกโกมารภ้ทร ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็รวมเรียกท่านอยู่ในกลุ่มของฤาษีเช่นกัน พระฤาษีจัดคัดแยกเอาไว้ ๔ ชั้น หรือ ๔ จำพวก คือ
ชั้นที่ ๑ เรียกว่า ราชรรษี แปลว่า เจ้าฤษี ชั้นนี้จะมีความเป็นอยู่ตามพื้นธรรมชาติ คือมีความปกติเป็นพื้นฐานเพียงแต่มีความริเริ่มและความพยายามที่จะบำเพ็ญเพียรในเบื้อง ต้นและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ชั้นที่ ๒ เรียกว่า พรหมรรษี แปลว่า พรพรหมฤาษี เมื่อปฏิบัติเพียงพอกับความต้องการ ในเบื้องต้นแล้ว จึงได้ไปบังเกิดเป็น พระพรหม
ชั้นที่ ๓ เรียกว่า เทวรรษี แปลว่า เทพฤาษี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างมุงมั่นด้วยตบะ จึงมีบารมีมาก พร้อมทั้งมีอิทธฤทธิ์และมีอำนาจมหาศาล
ชั้นที่ ๔ เรียกว่า มหรรษี แปลว่า มหาฤาษี ชั้นนี้นอกจากมีอิทธิฤทธิ์ที่เกิดจากบารมีแล้ว ยังมีภูมิปัญญามาก มีอาคมแก่กล้าเป็นที่สุด
เมื่อนำ เอามาเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นชัดเจนว่าทั้ง ๔ ชั้นมีความสามรถไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากัน แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละตน ผู้ใดมีความมุ่งมั่นหมั่นเพียรและตั้งใจปฏิบัติ ทำ ได้เท่าใดผลก็จะส่ง บุญก็จะบันดาล ให้ไปถึงขั้นนั้นๆ พระฤาษีที่ปรากฏในวรรณคดีมีอยู่หลายท่าน โดยมากมักเป็นฤาษีที่ละจากเรื่องทางโลกมุ่ง สู่การบำเพ็ญบารมีเป็นที่นับถือแก่มนุษย์และเทพเทวดาทั่วไปยิ่งบำเพ็ญบารมีมากเท่าไรก็มีอำ นาจวิเศษตามบารมีที่สั่งสมมามากขึ้นเท่านั้น ฤาษี ตามรากศัพย์ดูเหมือนจะแปลกันว่า เป็นผู้มี ปัญญาอันได้มาจาก พระเป็นเจ้า ตามพจนานุกรมฉบับมติชนปี ๒๕๔๗ ว่า ฤษี(รือ-สี) ผู้สละ บ้านเรือนออกบำเพ็ญพรต ส่วนฤาษีที่ปรากฎชื่อใน ทศฤาษี หรือที่เรียกกันว่า เป็น พระประชาบดี นั้นในมานวธรรม ศาสตร์กล่าวว่ามี ๑๐ ตน คือ
๑.มรีจิ
๒.อัตริ
๓.อังคีรส
๔.ปุลัสยตะ
๕.ปุลหะ
๖.กรตุ
๗.วสิษฐ
๘.ประเจตัส หรือ ทักษะ
๙.ภฤคุ
๑๐.นารท
แต่บางตำราว่ามีแค่ 7 เรียกกันว่า สัปตฤาษี หรือมานัสบุตร (ลูกเกิดแต่มโของพระพรหมา) ทั้ง 7 ตน
มีชื่อดังนี้
๑.โคดม (โคตม)
๒.ภรัทวาช
๓.วิศวามิตร
๔.ชมัทอัคนี(บางตำราว่า ชมทัศนี)
๕.วสิษฐ
๖.กศป(กัศย์ป)
๗.อัตริ
ส่วนมหาภารตะระบุไว้ว่า
๑.มรีจิ
๒.อัตริ
๓.อังคีรส
๔.ปุละหะ
๕.กระตุ
๖.ปุลัสตยะ
๗.วสิษฐ วายุปุราณะเติม ภฤคุ อีก ๑ ตน แต่ยังเรียกรวมว่า สัปตฤาษี ส่วนวิษณุปุราณะเพิ่มอีก ๒ ตน คือ
ภฤคุ กับ ทักษะ เรียกแปลกไปอีกว่า พรหมฤาษีทั้งเก้า
ตามชั้นและฐานะของพรฤษีนั้นก็ยังแยกระดับตามศรรพนามออกไป และชั้นที่ได้ยกระดับหรือแยกออกมาอีก
ก็คือ
๑.พระสิทธา
๒.พระโยคี
๓.พระมุนี
๔.พระดาบส
๕.ชฎิล
๖.นักสิทธิ์
๗.นักพรต
๘.พราหมณ์
เมื่อรวมทั้งแปดนามเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือท่านเป็น”ผู้ทรงศีล”ผู้ที่มุ่งหวังตั้งใจบำเพ็ญเพียรตบะ
เพื่อเสริมสร้างบารมี มุ่งหวังในผลสำเร็จ ถึงกับยอมสละทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกันหมด
ในบรรดากลุ่มพระฤษีที่มีชื่อแยกออกไป ก็ยังมีความหมายต่างๆกัน เช่น
๑.พระสิทธา แปลว่า พระฤาคี ประเภทมีคุณธรรมวิเศษ มีหลักฐานมั่นคง ที่สถิตสถานมีวิมานอยู่บนเทือก
เขาและถ้ำ ตามแต่ว่าจะเห็นสมควรในความสะดวกสบายอยู่ในระหว่างพระอาทิตย์ลงมาสู่พื้นแห่งโลกมนุษย์โดย
กำหนด
๒.พระโยคี แปลว่า เป็นผู้ที่มีความสำเร็จ หรือผู้ที่กำลังศึกษาสังโยค ในด้านหลักวิชาโยคกรรม มักจะเที่ยว
ทรมานตนอยู่ตามเทือกเขาและป่าตามความเหมาะสมในความสันโดษ ที่จะมีและเท่าที่จะเห็นว่าสมควร
๓.พระมุนี แปลว่า ในกลุ่มพราหมณ์ที่มีความพยายาม กระทำกิจพิธีบำเพ็ญด้วยความพากเพียร มุมานะ
พยายามจนกระทั่งพบความสำเร็จ จึงกลายเป็นผู้ที่มีปัญญาและมีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับสูง
๔.พระดาบส แปลว่า ผู้บำเพ็ญตนสร้างบารมี มุ่งมั่นในตบะธรรมที่คิดว่าจะเผาผลาญกองกิเลสให้หมดสิ้นไป
ใช้ความพยายามพากเพียร พยายามมุ่งแต่ในทางทรมานร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งหวังในโลกุตตรสุขที่เป็นผล
แห่งบารมี
๕.ชฎิล แปลว่า นักพรตจำพวกหนึ่ง ที่ชอบเกล้ามุ่นมวยผมเป็นแบบชฎาเอาไว้ หนวดเครารกรุงรังราวกับคน
บ้า ทั้งผ้าที่นุ่งห่มก็รุ่มร่าม ไม่ชอบในการรักสวยรักงาม ทำตนเป็นพราหมณ์รอนแรมอยู่ตามป่าดงพงไพร
๖.นักสิทธิ์ แปลว่า เป็นผู้ทรงศีลที่กึ่งมนุษย์กึ่งเทพ หรือเทวดา พวกนี้มักจะรักสัจจะวาจา มีความเที่ยงธรรม
เป็นที่ตั้งชอบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอๆ มีที่อยู่อาศัยอยู่ในระหว่างกลางที่ว่างเปล่าและบริสุทธิ์
วัดระยะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลงมาจนกระทั่งถึงโลกมนุษย์ พวกนี้มีอยู่กันเป็นจำนวนมากมายหลายแสนองค์เที่ยว
ตระเวนไปในที่ต่างๆ เพื่อที่จะสอดส่งหาทางลงมาช่วยเหลือมวลมนุษย์
๗.นักพรต แปลว่า เป็นผู้ที่ปฏิบัติดีเคร่งครัดในการปฏิบัติ ทรงศีลอันประเสริฐมิยอมให้ศีลบกพร่องแต่ประการ
ใด ตั้งใจบำเพ็ญพรต บำเพ็ญตบะ เพื่อที่จะเสริมสร้างบารมีให้มากๆ อยู่ประจำ ชอบสถิตย์อยู่ตามป่าเขาลำเนา
ไพร และตามถ้ำหน้าผา มักไม่ยอมให้ผู้ใดได้พบเห็น มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย แต่มีอิทธิฤทธิ์มาก
๘.พราหมณ์ แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับฤษีเหมือนกัน แต่เป็นด้านการปฏิบัติบูชาบำเพ็ญตบะสร้างบารมีอย่าง
มุ่งมั่นเป็นผู้สละแล้ว สละเรื่องของโลกภายนอกได้หมดแล้วมีความมุ่งมั่นว่าจะต้องออกไปปฏิบัติการช่วยเหลือ
มนุษย์และสรรพสัตว์โดยทั่วไป พราหมณ์มักจะชุมนุมรวมกลุ่มกันเป็นหมู่คณะ ตามเทวสถานต่างๆ ด้วยความพร้อม
เพรียงและสามัคคีกันอย่างดี เมื่อมีผู้ใดเชิญให้ช่วยกระทำพิธีให้ไม่ว่าจะเป็นพิธีอะไรที่จะต้องเกี่ยวกับพระฤษีหรือ
องค์เ้ทพต่างๆพราหมณ์ก็ออกไปทำพิธีให้ทันที ไม่เรียกร้องค่าป่วยการหรือค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ไม่เห็นแก่ลาภ
ไม่เห็นกับประโยชน์ส่วนตัว (นั่นเป็นพราหมณ์สมัยก่อน สมัยนี้ก็คงจะต้องมีค่าใช้จ่ายมากน้อยตามแต่จะเห็นสมควร)
สำหรับพราหมณ์พวกนี้ก็มักมีกันอยู่เป็นจำนวนมาก ชอบฝักใฝ่ในธรรม โปรดสัตว์ ช่วยเหลือมนุษย์ด้วยความเต็มใจ
เมื่อเสร็จสิ้นจากภารกิจแล้วก็จะเข้าจำศีลภาวนาต่อไปอย่างไม่มีคำว่าพอ
ต่อจากนี้จะเป็นการลำดับรายชื่อย่อๆ ในส่วนหนึ่งของพระฤษีในแต่ละชั้น จะแบ่งแยกเป็นชั้นๆดังต่อไปนี้
๑.พระฤษีชั้นพรหม พระฤษีในชั้นพรหมนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้ พระฤษีพรหมเมศร์ พระฤษีพรหมมา พระฤษีพรหม
มุนี พระฤษีพรหมนารถ พระฤษีพรหมวาลมีกิ เป็นต้น
๒.พระฤษีชั้นเทพ พระฤษีชั้นเทพนั้นมีรายชื่อดังต่อไปนี้ พระฤษีบรมโกฏิ พระฤษีประลัยโกฏิ พระฤษีนารอด พระ
ฤษีนารายณ์ พระฤษีนาเรศร์ พระฤษีอิศวร พระฤษีพิฆเนศ พระฤษีเพชรฉลูกัณฑ์ พระฤษีปัญญาสด พระฤษีตาไฟ
พระฤษีหน้าวัว พระฤษีหน้าเนื้อ พระฤษีปัญจสิขร (หรือพระประคนธรรพ) บางทีเรียกว่า พระประโคนทัพ) เป็นต้น
๓.พระฤษีชั้นมนุษย์ พระฤษีชั้นมนุษย์ก็มีมากมายเช่นเดียวกัน เช่น พระฤษีโกเมน พระฤษีโกเมท พระฤษีโกมุท
พระฤษีสัตตบุตร พระฤษีสัตบัน พระฤษีสัตบงกช พระฤษีโคบุตร พระฤษีโคดม พระฤษีสมมิตร พระฤษีลูกประคำ เป็นต้น
๔.พระฤษีชั้นอสูร พระฤษีชั้นอสูรก็มีตามรายชื่อดังนี้ ท่านท้าวคีรีเนศร์ ท่านท้าวเวสสุวัณ ท่านท้าวหัสกัณฑ์ ท่าน
ท้าวหิรัญฮู พระฤษีพิลาภ พระฤษีพิรอด ท้าวพลี หิรัญยักษ์ อนันตยักษ์ วาณุราช วาหุโลม เป็นต้น
รูปร่างลักษณะของพระฤษีพรหมเมศร์
พระฤษีพรหมเมศร์มี ๔ พระพักตร์เหมือนกับพรพรหมโดยทั่วไป พระเศียรเป็นกรวยเช่นเดียวกับเศียรพระฤษี
ทั้งหลาย มี ๘ กร พระพักตร์สีทอง ผิวกายสีทอง นุ่งห่มด้วยผ้าโขมพัตถ์ (ผ้าสีขาวอย่างดี ที่สะอาดบริสุทธิ์)
พระฤษีพรหมเมศร์นี้ ท่านมีอิทธิฤทธิ์และปาฏิหารย์มากมาย ทั้งในด้านบุญฤทธิ์บารมี ก็ไม่มีผู้ใดจะเทียบเทียม
ท่านได้ ชอบช่วยเหลือมวลมนุษย์และสรรพสัตว์โดยทั่วๆไป ด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีงามของท่าน
ประวัติของพระฤาษีพรหมบุตร
จะกล่าวถึงกุมารหนึ่ง นามว่า พรหมบุตร ซึ่งเกิดแต่พรหมนารีนางหนึ่ง หลังจากที่กุมารเจริญวัยขึ้นมาก็ไต่ถามมารดาถึงเรื่อง
ของผู้เป็นบิดาและก็ได้ความตามเรื่องราวที่มารดาเล่าให้ฟังโดยละเอียดว่า พรธฤษีพรหมเมศร์นั้นเป็นบิดาบังเกิดเกล้า แต่บัดนี้
มารดาไม่สามารรถที่จะขึ้นไปอยู่บนพรหมโลกได้อีกแล้ว เพราะเป็นคำสั่งห้ามของเจ้าสวรรค์คือ พระิอิศวร นั่นเอง มิหนำซ้ำยัง
ขับไล่ให้มาอยู่ในภาคพื้นดินอีกด้วย พระพรหมบุตรในระหว่างนี้ก็กระทำตนเป็นพระฤษีบำเพ็ญตบะบารมีอยู่ในป่าหิมพานต์ เมื่อ
รู้เรื่องราวจากมารดาก็โกรธ และมีความน้อยใจเป็นอย่างมากจึงคิดมุ่งแต่บำเพ็ญตบะเพื่อสร้างบารมีให้แก่กล้าและสูงขึ้นๆ เรื่อยๆ
ทั้งจะต้องมีทั้งอำนาจ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ด้วยพระคาถาอาคมที่แข็งแกร่งและแก่กล้าจะต้องเอาชนะพระฤษีทั้งหลายให้ทั่วทุก
ชั้นได้สำเร็จ จึงพยายาม พากเพียร บำเพ็ญ อยู่อย่างนั้นเป็นเวลานานแสนนานในระยะเวลาถึงหนึ่งพันปี ก็บังเกิดบุญฤทธิ์ และ
บารมีที่มุ่งมั่น ทำให้มีฤทธิ์อำนาจ มีคาถาอาคมอันศักดิ์สิทธิ์มีภูมธรรมอยู่ในชั้นสูงไม่มีผู้ใดจะเทียบได้พระฤษีพรหมบุตรจึงเป็น
หนึ่งในความสำเร็จ
เมื่อพระฤษีพรหมบุตร มีความเก่งกล้าเป็นที่หนึ่งในจักรวาลและแดนพิภพแล้ว ก็มีใจกำเริบด้วยฤทธิ์เดช ด้วย
ความที่ยังมีใจเจ็บแค้นพระอิศวรเจ้าสวรรค์ จึงออกเที่ยวหาหมู่พระฤษีทั้งหลาย ที่บำเพ็ญตบะอยู่ในป่าทั้งหมด เมื่อ
พบกับองค์ใดองค์หนึ่งก็ตาม พระฤษีพรหมบุตรก็ด่าและท้าทายพระฤษีเหล่านั้นมาต่อสู้ จนพระฤษีทั้งหลายพา
กันหวาดกลัวและเข็ดขยาด เพราะไม่สามารถต่อสู้ได้ ต่างไม่เป็นอันทำตบะเพราะความเกรงกลัว ต่างพากันหลบหนี
ซุกซ่อนมิยอมให้ได้พบเห็น เพราะหากพบกันครั้งใดภัยก็จะเกิดขึ้นครั้งนั้น ยิ่งทำให้พระฤษีพรหมบุตร กำเีริบ คิดว่า
ตนเก่งกล้าไม่มีผู้ใดออกมาต่อกรได้
ด้วยความคับแค้นแน่นอยู่ในอกจึงคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องกระทำการแก้แค้นให้กับมารดา และหมายใจที่
จะให้มารดากลับขึ้นไปอยู่บนพรหมโลกอีกครั้งหนึ่งให้จงได้ เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้วจึงแสดงอิทธิฤทธิ์เหาะขึ้นไปสู่ยังพรหมโลก เมื่อขึ้นมาแล้วก็สืบเสาะหาพระฤษีพรหมเมศร์ผู้ที่เป็นบิดา หวังว่าเมื่อได้พบกันแล้วจะเจรจากันได้โดยง่าย แต่กลับตรงกันข้าม พระฤษีพรหมเมศร์กลับปฏิเสธไม่ยอมรับถึงแม้พระฤษีพรหมบุตรจะพยายามขอร้องสักเพียงใด เพื่อให้มารดากลับขึ้นมาอยู่บนพรหมโลกให้ได้ มิเพียงไม่ยอม
เท่านั้นยังประกาศขับไล่พระฤษีพรหมบุตรรีกลับลงไปจากพรหมโลกอีกด้วย
เมื่อเกิดความโกรธขึ้นมาก็ลืมตัวว่าพระฤษีพรหมเมศร์นั้นคือบิดา ไม่ยอมรับแล้วยังขับไล่อีก จึงท้าทายให้ต่อสู้กัน
ตัวต่อตัวด้วยวาจาที่แสนโอหังและหยิ่งผยอง ไม่ยอมลดละให้กับผู้เป็นบิดาหวังจะต้องรู้แพ้รู้ชนะให้ได้ด้วยความอาฆาต
มาดร้ายต่อผู้เป็นบิดาเป็นอย่างมาก
การต่อสู้ได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างมีฤทธิ์เดชด้วยกัน แม้จะต่อสู้กันตัวต่อตัวก็ทำให้สวรรค์ทั้งพรหมโลกและชั้น
อื่นๆจนถึงพื้นภิภพสะเทือนเลื่อนลั่น ราวกับจะพังพินาศไป เหล่าเทวดาทั้งหลายต่างพากันตระหนกตกใจโดยไม่รู้ต้นสาย
ปลายเหตุจึงต้องพากันออกมาจากวิมานเพื่อดูสถานการณ์เมือ่รู้เห็นแล้วก็รู้ว่าไม่มีผู้ใดจะจัดการสงบศึกครั้งนี้ลงได้แน่ต่าง
ก็เหาะมุ่งหน้าไปสู่เขาไกรลาสรายงานเรื่องที่เกิดขึ้นให้พระอิศวรได้ทรงทราบว่าพระฤษีในชั้นสูงผู้ที่เป็นพรหมทั้งสองฝ่าย
ฝ่ายหนึ่งเป็นบิดา ฝ่ายหนึ่งเป็นบุตร กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือด
พระอิศวรเมื่อได้รับรู้ความเดือดร้อนของเหล่าเทวดา จึงหันมาชวนพระนารายณ์ที่เฝ้าอยู่ ณ.ที่นั้นไปด้วย ดูซิว่าสอง
พ่อลูกทำไมถึงต้องต่อสู้กันทำให้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อน ใครผิดใครถูกค่อยไปตัดสินกัน เมื่อเสด็จมาถึงก็ตรงเข้า
ห้ามปรามพระฤษีทั้งสอง จนเป็นที่เข้าใจ เมื่อรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นท่านก็ยังปราณีต่อพระฤษีพรหมบุตรได้กล่าวตักเตือนด้วย
เหตุผลต่างๆ หวังว่าจะยอมเข้าใจและเชื่อฟังแต่แทนที่พระฤษ๊พรหมบุตรจะเข้าใจและยอมเชื่อฟังกลับดันทุรังไม่มีความเกรงกลัวต่อองค์
พระอิศวรผู้เป็นเจ้าสวรรค์ กลับใช้วิธียั่วยวนกวนโทสะ อยู่ตลอดด้วยจิตใจที่อาฆาตแค้นเป็นทุนอยู่แล้ว
พระอิศวรเมื่อเจอเข้าอย่างนี้ก็ยิ่งเพิ่มความพิโรธขึ้นเป็นทวีคูณ และเห็นว่าการที่บุตรจะมาต่อสู้ลองฤทธิ์กับผู้เป็นบิดานั้นหาสมควรไม่ ด้วยความโกรธจึงตวาดออกไปว่า ” เหม่..เหม่..เจ้านี้ช่างบังอาจ อวดฤทธิ์เดชก่อให้เกิดเหตุอันยิ่งใหญ่
คิดว่าเจ้ามีฝีมืออันเกรียงไกรกระนั้นหรือ เอ้า..องค์นารายณ์จงจัดการณ์มันเดี๋ยวนี้ ”
พระนารายณ์เมื่อได้ฟังรับสั่งเช่นนั้นก็ไม่รอช้า เข้าทำการปราบปรามทันที พระฤษีพรหมบุตรรอทีอยู่แล้วก็ทำการต่อสู้อย่างไม่เกรงกลัวในศักดิ์ศรี ต่างเข้ารุกรบคลุกคลีหมายที่จะเอาชนะกันให้ได้ แต่พระฤษีพรหมบุตรนั้นช่างมีฤทธิ์เหลือเกิน
พระนารายณ์เองก็ยังต้องยอมรับในข้อนี้และคิดคำนึงต่อไปว่าหากจะต่อสู้กันอย่างนี้โอกาสที่จะเอาชนะคงยากคิดดังนั้นแล้ว ก็ถอยฉากออกมานิดหนึ่งแล้วขว้างจักรอันทรงฤทธิ์ขึ้นไปบนอากาศ สาดส่องรัศมีแผ่กระจายไปทั่วบริเวณใครที่เห็นรัศมี จักรทรงของพระนารายณ์จะแสบตามองอะไรไม่เห็น จักรนั้นลอยหมุนติ้วต่ำลงมาด้วยความเร็ว..เร็วขึ้น..เร็วขึ้น..ยิ่ง
เพิ่มความเร็วและแรงเป็นร้อยเท่าทวีคูณ
จักรนั้นลอยต่ำลงมาต่ำลงมาและในช่วงพริบตาเดียวเท่านั้นพระฤษีพรหมบุตรก็ไม่ทันระวังตัวจักรอันทรงฤทธิ์ก็ตรงลิ่วเข้า
ตัดคอของพระฤษีพรหมบุตรขาดกระเด็นออกจากร่างในบัดดลแต่ด้วยเดชะพระบารมีได้เคยบำเพ็ญมาจึงทำให้พระฤษี
พรหมบุตรไม่ตาย แม้ว่าคอจะขาดออกจากร่างแล้วก็ตาม องค์พระอืศวรเห็นเช่นนั้นก็รู้ว่าพระฤษีพรหมบุตรจะใช้เวทมนต์
คาถาต่อหัวให้ติดกับตัวตามเดิมจึงจำเป็นจะต้องใช้ตาพิเศษคือตาที่สามที่อยู่ตรงกลางหน้าผากจัดการจึงทรงลืมตาที่สาม
ทันทีแล้วเพ่งไปยังร่างของพระฤษีพรหมบุตรกระทั่งไฟกรดลุกท่วมร่างมอดไหม้กลายเป็นธุลีไปในบัดดล
เมื่อเหลือแต่หัว พระฤษีพรหมบุตร ก็สำนึกถึงความผิดพลาด ยอมรับการอบรมสั่งสอนของพระอิศวรและพระนารายณ์แต่โดยดี
ให้พระฤษีพรหมบุตรตั้งตนอยู่ในความดีคอยปฏิบัติบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และห้ามมิให้มายุ่งเกี่ยวกับพรหมโลกให้กลับไปอยู่ในสถานป่าหิมพานต์เหมือนเช่นเดิมเมื่อถึงเวลาก็ให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าตามหน้าที่ตลอดไป
นับแต่นั้นเป็นต้นมาพระฤษีพรหมบุตรจึงมีแต่เศียร แต่ไม่ตาย ประพฤติปฏิบัติแต่ความดี คอยช่วยเหลือผู้อื่นและยังบัน
ดาลความศักดิ์สิทธิ์ให้กับมวลมนุษย์ได้เห็นในอิทธิฤทธิ์และบารมีของท่านมนุษย์ทั้งหลายจึงมีความเคารพนัถือมากจึงทำ
พิธีปั้นเศียรของพระฤษีพรหมบุตรจำลองขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นประธานในพิธีการต่างๆและยังใช้เศียรจำลองนี้ครอบบรรดาศิษย์
ที่มีความเคารพนับถือ ต่อองค์พระฤษีพรหมบุตร เพื่อความเป็นสิริมงคลป้องกันอุบาทว์ และเสนียดจัญไรทั้งหลายทั้งปวง
ให้ห่างหายไป
การใหว้ครูและครอบครู
การใหว้ครูและครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี
“ประเพณี การไหว้ครูมีมาแต่โบราณ คนไทยเป็นคนที่มีกตัญญูอย่างแรงกล้า และได้รับการอบรมต่อๆกันมาให้เป็นผู้มีกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การที่จะกระทำ กิจการใดๆ ก็ต้องได้รับคำแนะนำจากครู แม้แต่การเลียนแบบหรือลักจำเขามาก็ ต้องเคารพผู้ให้กำเนิด หรือประดิษฐ์สิ่งนั้น ในการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ ต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการเรียนศิลปการดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ
“พิธี ไหว้ครูที่ปฏิบัติกันเคร่งครัด ได้แก่ พิธีไหว้ครูอาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ และ นาฏศิลป์ ถือกันว่าเพลงหน้าพาทย์ ดนตรีบางเพลง และท่ารำบางท่า เป็นเพลง และท่ารำที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้ายังไม่ได้ทำพิธีไหว้ครู และพิธีครอบเสียก่อนแล้ว บรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายก็ไม่กล้าสอนกล้าหัดให้ศิษย์ ด้วยเชื่อกันว่าจะเกิดผลร้ายแก่ครูผู้สอน และแก่ศิษย์เองด้วย ถ้าเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้นก็จะกล่าวกันว่า “ครูแรง” เหตุนี้โรงเรียนนาฏศิลปของกรมศิลปากรจึงได้กำหนดงานพิธีไหว้ครูและพิธีครอบ ขึ้นเป็นประจำปีละครั้งในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูในตอนต้นภาคเรียนแรกแต่ละปีการศึกษา ทำนองเดียวกับโรงเรียนต่างๆ เพียงแต่มีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์เพิ่มจากไหว้ครูธรรมดา และมีพิธีครอบประกอบด้วย เพื่อครู ศิษย์ และนักเรียนจะได้เริ่มสอนเริ่มเรียนกันไปอย่างเรียบร้อย และสบายใจ”
ความเชื่อการจัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก ๑ วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน ๙ เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน
พิธีไหว้ครู
หมายถึง การสำรวมใจรำลึกถึงพระคุณของบรมครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ ศิษย์ และพร้อมใจกันเปล่งเสียงวาจาด้วยความเคารพตามครูผู้กระทำพิธีขณะอ่านโองการ
พิธีครอบครู 
เป็นพิธีที่นิยมกันมาช้านาน หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (เพื่อรับเป็นศิษย์) และครูจะคอยควบคุมรักษา คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ พิธีครอบครูนั้นนับว่าเป็นการทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจว่าครูจะคุ้มครองรักษา ครูจะช่วยเหลือแม้จะรำผิดพลาดไปบ้าง จะทำให้ผู้เรียนไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้ทำพิธีครอบครูแล้ว ครูคงให้อภัยในความผิดพลาด อีกประการหนึ่งพิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์ ก่อนจะรำผู้ศึกษาต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำได้
การจัดตั้งหิ้งบูชา
การ จัดตั้งหิ้งบูชา.จะต้องหันหน้าไปทางทิศ
๑.เหนือ
๒.ตะวันออกเฉียงเหนือ
๓.ตะวันออก เท่านั้น
ที่เหลืออีก 5 ทิศเป็นทิศที่ไม่เป็นมงคล ควรไว้รองจากพระพุทธรูป การจัดตั้งเครื่องสังเวยหน้าหิ้งบูชาควรจัดข้าวน้ำ ผลไม้ให้ครบองค์กร กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน ขนุน ขนมถ้วยฟู ต้มแดง ต้มขาว คันหลาว หูช้าง ขนมถั่ว-ขนมงา เครื่องกระยาบวช ทั้ง ๕ คือ
๑.กล้วยบวชชี
๒.ฟักทองแกงบวช
๓.เผืกแกงบวช
๔.มันแกงบวช
๕.ขนมบัวลอย
จะทำรวมกันเป็นที่เดียวก็ได้ ถ้าหากมีทุเรียน ทับทิม ฟักเงิน(ฟักทอง) แตงไทย แตงกวา แตงโม สัปปะรด จะเป็นมงคลยิ่ง โดยเฉพาะกล้วยควรใข้กล้วยน้ำไทย หาไม่ได้ก็ไช้ กล้วยน้ำว้า
พิธีเช่นนี้ จะขาดไม่ได้คือ บายสีปากชาม ถ้าหากว่าจะทำได้มากกว่านี้ ก็ยิ่งเพิ่มบารมีมากขึ้นอีก เช่น บายสีพรหม บายสีเทพ บายสีตอ เป็นต้นการจัดตั้งหิ้งถ้าหากเจตนาอัญเชิญเทพไม่ควรจะมีของคาว ควรจะจัดเพิ่มให้มีนม เนย เผือก มัน ทั้งดิบ และสุก ถั่วงา ทั้งสุกและดิบ ให้ครบ
ทุกๆพิธี จะต้องมี น้ำร้อน น้ำชา หมากพลู บุหรี่ น้ำเปล่า ตั้งเอาไว้ประจำไม่ต้องลา ทั้งกล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน ปูอาสนะด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์เครื่องใช้ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรทุกอย่างจะต้องเป็นของใหม่ๆ ทุกอย่าง
ผลไม้ที่เป็นมงคล
๑.ขนุน
๒.ทุเรียน
๓.กล้วยหอม
๔.ทับทิม
๕.ลูกอินทร์
๖.ลูกจันทร์
๗.องุ่น
๘.แตงไทย
๙.มะม่วง
๑๐.ลูกเกตุ
๑๑.ลูกตาล
๑๒.ลูกอินทผลัม
๑๓.แอปเปิ้ล
๑๔.ลิ้นจี่
๑๕.ลำใย
๑๖.สัปปะรด
ผลไม้ที่ห้ามขึ้นหิ้งบูชา
๑.ละมุด
๒.มังคุด
๓.พุทรา
๔.น้อยหน่า
๕.น้อยโหน่ง
๖.มะเฟื่อง
๗.มะไฟ
๘.มะตูม
๙.มะขวิด
๑๐.กระท้อน
๑๑.ลูกพลับ
๑๒.ลูกท้อ
๑๓.ระกำ
๑๔.ลูกจาก
๑๕.รางสาด
คาถาบูชาพ่อแก่ พระฤาษี 108 พระองค์
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ตัสสะ (3 จบ)
อุกาสะ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาสสันติ สิทธิการิยะ
อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ทุติยัมปิ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะสัยยัง
วินาสสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ตะติยัมปิ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา
อาจาริยัง สัพพะสัยยัง วินาสสันติ สิทธิการิยะ อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม
คาถาบูชาพระฤาษี
โอม…อิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
ทุติยัมปิ…อิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
ตะติยัมปิ…อิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
คาถาบูชาพระฤาษี 108 (รวม)
โอม สะระเวโภย ฤาษิโภย นะมัท
บทอธิฐานขอพรพระฤาษี(ใช้ได้กับทุกๆ พระองค์)
โอม ตะวะเมวะมาตา จะบิตา ตะวะเมวะ ตะวะเมวะพันธุศจะ
สะขา ตะวะเมวะ ตะวะเมวะวิทะยา ทรวิณัม ตะวะเมวะ ตะวะเมวะสรวัม มะมะ เทวะ เทวะ….
*******มีต่อ*******


 เครดิต https://bertarot.wordpress.com